Site icon simplymommynote

ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่ไม่ใช่โง่

ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่ไม่ใช่โง่

ดิสเล็กเซีย (Dyslexia)

เด็กแต่ละคนอาจใช้เวลาในการพัฒนาและเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ในเรื่องการอ่าน และการเขียนก็เช่นกันค่ะ เด็กบางคนอาจจะเรียนรู้ได้ไวกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กปกติ  แต่โดยทั่วไปทักษะการอ่านและการเขียนเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กอยู่แล้ว เด็กหลายคนอาจต้องใช้เวลานานกว่าที่จะสามารถเรียนรู้ตัวหนังสือแต่ละตัว สะกดคำ และเขียนผสมคำได้อย่างถูกต้อง แต่หากลูกของคุณไม่สามารถอ่านหรือเขียนหนังสือได้เสียที นั่นอาจเป็นสัญญาณว่ากำลังเป็นดิสเล็กเซีย (Dyslexia) อยู่ก็เป็นได้ค่ะ

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลจนเกินไปเพราะเด็กที่เป็นดิสเล็กเซียมักจะมีความสามารถอย่างอื่นที่เหนือกว่ามาทดแทนจุดติดขัดนี้ของเขา คนดังอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ทอม ครูซ, คีนูรีฟส์ , บีโธเฟน, จอห์น เลนนอน, สตีเฟน ฮอว์กิง, อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ,วอร์เรน บัฟเฟต ,วินสตัน เชอร์ชิล ฯลฯ ก็ล้วนเป็นดิสเล็กเซีย เพียงแต่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจ พยายามมองหาทักษะอื่นๆที่ลูกมี เพื่อให้ลูกอยู่กับจุดติดขัดของตัวเองอย่างเข้าใจ เป็นการเสริมแรงให้ลูกมีความมั่นใจ และใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขค่ะ

ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) คืออะไร?

ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในการเรียนรู้ภาษา ความสามารถในการจดจำ การจัดการเสียงในภาษา การถอดรหัสคำศัพท์ใหม่หรือการแยกย่อยออกเป็นคำ ทำให้ต้องใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจ และการอ่านหนังสือ

ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) มีสาเหตุจากอะไร?

ดิสเล็กเซีย ไม่ได้มีปัญหาด้านเชาว์ปัญญาเหมือนกลุ่มที่ผิดปรกติเฉพาะด้านการเรียนรู้ (Learning Disorder) แต่ดิสเล็กเซียมีสาเหตุจาก “เซลล์สมองซีกซ้ายทำงานผิดปกติ”  จึงมีปัญหาในการอ่าน เขียน และสะกดคำ

เด็กที่มีภาวะดิสเล็กเซียจึงมักถูกตราหน้าว่าเป็นเด็กโง่จากคนที่ไม่เข้าใจ ทั้งที่เด็กดิสเล็กเซียฉลาด และมีทักษะด้านอื่นๆ ที่เป็นเลิศ พ่อแม่จึงควรทำงานร่วมกับโรงเรียนเพื่อค้นหาศักยภาพอื่นๆ ในตัวเด็ก เพื่อวางแผนการเลี้ยงดู และการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความถนัดเพื่อดึงศักยภาพของเด็กออกมาให้มากที่สุด เพราะภาวะดิสเล็กเซียนั้นไม่สามารถรักษาให้หายด้วยการทานยา

รู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นดิสเล็กเซีย (Dyslexia)

สัญญาณของภาวะดิสเล็กเซียอาจจะสังเกตได้ยากในช่วงแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนวัยเรียน แต่อาจมีสัญญาณบางอย่างที่สามารถสังเกตได้ในช่วงวัยต่างๆ ของลูก ดังต่อไปนี้ค่ะ

ก่อนวัยเรียน

สัญญาณของดิสเล็กเซียในเด็กก่อนวัยเรียน ได้แก่

วัยเรียน

สัญญาณของดิสเล็กเซียในวัยเรียนอาจสังเกตได้ง่ายมากขึ้น ได้แก่

วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่

สัญญาณและอาการของดิสเล็กเซียในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่นั้นจะคล้ายกับช่วงวัยเรียน เช่น

พ่อแม่ควรทำความเข้าใจและส่งเสริมลูกอย่างไร

หากพ่อแม่สงสัยว่าลูกอาจมีอาการของดิสเล็กเซีย (Dyslexia) เบื้องต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยว่าลูกมีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น สมรรถภาพการได้ยินหรือการมองเห็นเสื่อมลงหรือไม่ หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ด้วยไหม และหากวินิจฉัยแล้วพบว่า มีภาวะดิสเล็กเซียเพียงอย่างเดียว พ่อแม่ก็จะได้ทราบถึงวิธีการที่จะช่วยส่งเสริมลูกให้สามารถอยู่กับภาวะนี้อย่างเข้าใจและมีความสุข

ให้ความเข้าใจและยอมรับภาวะของ

พ่อแม่ควรยอมรับสิ่งที่ลูกเป็นอย่างเข้าใจ ช่วยมองหาศักยภาพอื่นๆ ในตัวลูก เปิดโอกาสให้ลูกได้ทำสิ่งที่สนใจอย่างอื่นที่นอกเหนือจากการฝึกอ่านเขียน และพยายามส่งเสริมลูกให้มองเห็นศักยภาพด้านอื่นของตัวเอง เพื่อช่วยดูแล Self – Esteem (การเห็นคุณค่าในตนเอง) ของลูก เพราะง่ายมากที่ลูกจะถูกมองอย่างไม่เข้าใจจากคนรอบข้าง จนกลายเป็นความรู้สึกแปลกแยกจากคนอื่น

พ่อแม่ควรดูแลเรื่องการศึกษาของลูกอย่างใกล้ชิด

หากลูกมีภาวะดิสเล็กเซีย เมื่อถึงวัยเรียนพ่อแม่สามารถดูแลการศึกษาให้ลูกได้ใน 2 กรณี

ส่งลูกเข้าเรียนในระบบโรงเรียน

ถ้าลูกต้องเข้าเรียนร่วมกับเพื่อนคนอื่นในวัยเดียวกัน พ่อแม่ควรแจ้งให้ทางโรงเรียนและครูผู้ดูแลทราบ เพื่อหาทางช่วยส่งเสริม และร่วมกันวางแผนการเรียนในโรงเรียนด้วยกัน เพราะสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนอาจส่งผลให้เด็กเกิดความกดดันในการเรียนรู้อย่างมาก หากครูและเพื่อนไม่เข้าใจ

ให้ลูกเรียนผ่านระบบโฮมสคูล (Home School)

หากทางโรงเรียนหรือครูไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง พ่อแม่อาจเลือกจัดการศึกษาให้กับลูกได้เอง หรือที่รู้จักกันดีว่า “ระบบโฮมสคูล (Home School)” เพราะเด็กดิสเล็กเซียจะต้องอาศัยการสอนและการทบทวนซ้ำๆ และต้องใช้เวลาในการสอนมากกว่าปกติ ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งอื่นๆที่สนใจได้อย่างเต็มที่และอิสระมากขึ้น ช่วยยืดเวลาในการทำความเข้าใจจุดติดขัดของตัวเอง และเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกเมื่อต้องออกไปเผชิญกับสังคมภายนอก

การเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส (Multisensory Learning)

การเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส หมายถึงช่วยแนะนำให้ลูกรู้จักการเรียนรู้ด้วยวิธีอื่นๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสมากกว่า 2 อย่างขึ้นไปพร้อมกัน เช่น ใช้ประสาทการได้ยินร่วมกับประสาทการมองเห็น หรือการเรียนรู้ผ่านการหยิบจับร่วมกับการลงมือทำ เป็นต้น บางครั้งเด็กดิสเล็กเซียไม่สามารถอ่านหนังสือเรียงตามบรรทัดได้ อาจช่วยแก้ด้วยการฟังเสียงแทน หรือการจัดบรรยากาศในการเรียนรู้ที่สงบเงียบทำให้สามารถเพิ่มสมาธิในการเรียนรู้ของเด็กดิสเล็กเซียได้เช่นกัน

ดิสเล็กเซียไม่ใช่โรคจึงไม่สามารถรักษาให้หายด้วยการทานยา แต่พ่อแม่สามารถช่วยลูกให้อยู่กับข้อติดขัดนี้ได้อย่างเข้าใจ และมีความสุขได้นะคะ ด้วยการมองหาวิธีการอื่นๆ ในการเรียนรู้เพื่อเสริมแรงให้ลูกสามารถมีศักยภาพเท่าเทียมค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป และที่สำคัญช่วยลูกให้สามารถค้นหาศักยภาพอื่นๆในตัวเองให้เจอ เพราะกิฟท์เองก็เจอว่าบ้านเรียน (Homeschool) หลายบ้านที่ลูกมีภาวะดิสเล็กเซีย แต่ตัวเด็กเองนั้นมีศักยภาพด้านอื่นที่เป็นเลิศได้อย่างมีความสุข เช่น เป็นนักดนตรีที่ดี หรือเป็นนักการศึกษาที่สร้างแรงบันดาลใจ เพราะเกิดจากความใส่ใจของพ่อแม่ที่มุ่งมั่นและนำพาลูกให้สามารถเติบโตจากภายในสู่ภายนอกอย่างมีสมดุลค่ะ

Exit mobile version