• HOME
  • BLOG
  • โรค
  • 5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องพึงระวัง

5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องพึงระวัง

5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องพึงระวัง
โรค

ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ เชื่อว่าคุณแม่หลายคนอาจจะทั้งดีใจปนกังวลใจ เพราะด้วยระยะเวลาในการอุ้มท้อง 9 เดือน เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อยจะเป็นอย่างไร ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่คุณแม่หลายคนกังวลคงหนีไม่พ้นเรื่องของ “ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์” เพราะไม่เพียงแค่อันตรายต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่ แต่ยังอันตรายกับลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย หรือที่หลาย ๆ คน รู้จักกันดีในชื่อของ ‘ครรภ์เป็นพิษ’ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์มีทั้งระดับที่รุนแรงและไม่รุนแรง ขึ้นอยู่กับภาวะที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักและสังเกตุอาการของโรคกันค่ะ เพื่อป้องกันอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น และเป็นการเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

เป็นโรคที่พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากขณะตั้งครรภ์มดลูกจะมีการขยายใหญ่ขึ้นทำให้ไปดันบริเวณกระเพาะปัสสาวะส่งผลให้คุณแม่ปัสสาวะได้ไม่ดีมีการค้างของปัสสาวะนาน ทำให้คุณแม่มีอาการปัสสาวะติดขัดและเกิดการอักเสบในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อจากแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอดหรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ

อาการของโรคเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

    • ปัสสาวะบ่อยและปัสสาวะได้น้อย กะปิดกะปอยเหมือนปัสสาวะไม่สุด
    • ขณะปัสสาวะมีอาการแสบหรือระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ
    • มีอาการปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อย กดแล้วรู้สึกเจ็บ เหมือนจะคลอด
    • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือสีปัสสาวะขุ่นช่วงตั้งครรภ์
    • มีอาการหนาวสั่น ไข้สูง ปวดบริเวณบั้นเอวหรือหลัง

โรคโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์เป็นภาวะที่คุณแม่หลาย ๆ คนต้องเผชิญ หากในขณะตั้งครรภ์คุณแม่ตรวจพบค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10 กรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าคุณแม่เกิดภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ สาเหตุที่พบบ่อยของการเกิดภาวะนี้คือ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นเช่น จากการสูญเสียเลือดเรื้อรังจากการเป็นประจำเดือนก่อนการตั้งครรภ์ พันธุกรรมจากโรคธาลัสซีเมีย ขาดกรดโฟลิก โรคไต โรคเอสแอลอี (SLE) เป็นต้น

อาการของโรคโลหิตจาง

  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามือ ใจสั่นและเหนื่อยง่าย
  • เป็นลมง่าย อ่อนเพลีย ง่วงบ่อย
  • หมดแรง เบื่ออาหาร

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (Hyperthyroidism) คือ ภาวะที่ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนสูงกว่าปกติ ซึ่งพบอัตราการเกิดมากกว่าภาวะระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำกว่าปกติ ซึ่งภาวะนี้พบได้ประมาณร้อยละ 0.05-0.2 เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ รวมถึงความต้องการไอโอดีนสำหรับทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้การทำงานและหลั่งฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์เปลี่ยนไป ภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาจทำให้คุณแม่คลอดลูกน้อยก่อนกำหนด เกิดภาวะแท้ง และหัวใจวายได้

สามารถติดตามอ่านข้อมูลเกี่ยวกับฮอร์โมนคนท้องได้ที่นี่

อาการของโรคภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

  • กินเก่ง กินจุ น้ำหนักลดแม้จะรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ
  • ท้องเสียง่าย ใจสั่น ใจหวิว มือสั่น
  • ชีพจรเต้นเร็วแม้ในขณะนอนพัก อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที
  • อ่อนเพลีย ร้อนง่าย เหงื่อออกมาก อารมณ์แปรปรวน
  • ต่อมไทรอยด์โตทั่ว ๆ
  • ตาโปนจะพบได้ใน Graves’ disease

โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

อีกหนึ่งภาวะที่มักเกิดขึ้นบ่อยกับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีความดันโลหิตในขณะหัวใจบีบตัว (Systolic blood pressure; SBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือตรวจพบค่าความดันโลหิตในขณะหัวใจคลายตัว (Diastolic blood pressure; DBP) มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ขึ้นไปของการตั้งครรภ์ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการพัฒนาของรกที่ผิดปกติหรือเกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดแดง ทำให้ความดันโลหิตสูงตามมา

อาการของโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

  • ปวดศีรษะมาก การมองเห็นผิดปกติได้แก่มีแสงวาบ ตาพร่ามัว
  • จุกแน่นลิ้นปี่หรือปวดบริเวณชายโครงขวา
  • น้าหนักเพิ่มขึ้นมาก
  • บวมที่ใบหน้าและมือ
  • ปวดเกร็งท้อง เลือดออกทางช่องคลอด
  • ความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
  • คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะออกน้อยลง
  • ลูกดิ้นน้อยลง

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ทุกระยะ อันตรายทั้งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ส่วนใหญ่มักถูกวินิจฉัยในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยที่ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้เนื่องจากไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน  (Insulin) ได้เพียงพอ ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมาจากหลายสาเหตุเช่นคุณแม่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน, เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อนในครรภ์ก่อนหน้าม สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ Polycystic Ovary Syndrome เป็นต้น

อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  • รู้สึกหิวกระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย

ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคนขณะตั้งครรภ์ลูกน้อย ซึ่งอันตรายและความรุนแรงอาจเกิดอยู่กับแต่ละภาวะและปัจจัยอื่นร่วม ดังนั้น ขณะตั้งครรภ์คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย คัดกรอง และได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ หรือหากพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ควรได้รับการรักษาที่ทันเวลาและถูกวิธี เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อคุณแม่และทารกในครรภ์นะคะ


Crazy Secret

70,815 views

นักเขียนหลากหลายแนวหลงไหลงานเขียน ไลฟ์สไตล์ ซีรีย์ รีวิว สัตว์เลี้ยง สุขภาพ ความงาม "Writer enjoy and hope will be reader happy" FB: The write เขียน ไป เรื่อย

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save