• HOME
  • BLOG
  • โรค
  • ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร รักษาหรือแก้ไขอย่างไร

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร รักษาหรือแก้ไขอย่างไร

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร
โรค

Last Updated on 2021 06 24

ลูกนอนหลับได้คุณพ่อคุณแม่ก็สบายใจ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่ได้ยินเสียงลูกน้อยหายใจครืดคราด เอาละสิ…เกิดความกังวลซะแล้ว ลูกเป็นอะไร ลูกจะหลับสนิทไหม จะช่วยลูกได้อย่างไรดี และอีกคำถามร้อยแปดที่เข้ามาในหัว เอาเป็นว่าวันนี้แม่โน้ตมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่ลูกหายครืดคราด พร้อมแนวทางการแก้ไขเบื้องต้นมาฝากค่ะ

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร

ดื่มนมมากเกินไป (Overfeeding)

ข้อนี้จะเกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะในทารกแรกเกิด-3 เดือน เพราะลูกเพิ่งลืมตาออกมาดูโลก ยังต้องอาศัยเวลาในการปรับตัว ลูกอาจร้องไห้บ่อย จึงทำให้คุณแม่บางคนเข้าใจว่าทุกครั้งที่ลูกร้องไห้นั้น แปลว่าลูกหิว เมื่อเอานมเข้าปากลูกก็ดูดทุกครั้ง ซึ่งต้องบอกว่าเด็กทารกนั้น เมื่อเอาอะไรเข้าปากเขาจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติต่อสิ่งเร้าทุกครั้งค่ะ หรือที่เรียกว่า “ปฏิกิริยาสะท้อนกลับของทารก (Reflex)” นั่นเองค่ะ

ดังนั้น เมื่อลูกร้องแล้วให้นมลูกทุกครั้ง จึงส่งผลให้ลูกมีน้ำหนักมากขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งก็ส่งผลให้น้ำนมจากกระเพาะล้นมาอยู่ที่คอหอย ส่งผลให้ลูกหายใจครืดคราดนั่นเอง

วิธีแก้ไข ลูกดื่มนมมากเกินไป

เมื่อลูกร้องไห้ไม่ได้หมายความว่าลูกจะหิวเสมอไป คุณแม่สามารถพิจารณาได้จากช่วงเวลาปละปริมาณในการกินของลูกแต่ละครั้งก็ได้ค่ะ ถ้ารอบที่แล้วลูกกินเยอะ ผ่านไปอีกครึ่งชั่วโมง ลูกร้องอีก แบบนี้ไม่น่าจะใช้ร้องเพราะหิวแล้วค่ะ อาจต้องพิจารณาเหตุปัจจัยอื่น เช่น อากาศหนาวไปหรือเปล่า หรือเพราะลูกขับถ่าย เป็นต้น

อากาศแห้ง หรืออากาศเย็นเกินไป

แม้ว่าบางครอบครัวจะบอกว่าปกติเวลาที่นอนหลับก็เปิดแอร์อยู่แล้วทุกวัน แต่ในบางฤดูหรือบางวันที่มีฝนตกก็ทำให้อากาศเย็นลงได้ ลูกอาจหายใจครืดคราด หรือมีอาการฟึดฟัดได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความที่อากาศแห้งและเย็นจะเป็นตัวกระตุ้นเยื่อบุโพรงจมูก ส่งผลให้เกิดอาการบวม และด้วยปฏิกิริยาของร่างกายก็จะผลิตน้ำมูกออกมาเพื่อรักษาความชื้นในโพรงจมูกไว้ ซึ่งขณะที่ลูกนอน น้ำมูกก็จะไหลลงคอ ทำให้ลูกมีเสมหะได้

วิธีแก้ไข ไม่ให้อากาศแห้งหรือเย็นเกินไป

  • ควรอบอุ่นร่างกายด้วยการใส่เสื้อผ้าที่หนากว่าปกติ หรือห่มผ้า
  • ควรเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ คือ 26 – 28 องศาเซลเซียส
  • หากเปิดแอร์นอน ควรสวมเสื้อผ้าที่ค่อนข้างหนาสักหน่อย หรือห่มผ้าให้มิดชิด
  • ไม่ควรในจุดที่มีแอร์หรือพัดลมจ่อโดยตรง เพราะอาจไม่สบายได้

สิ่งแปลกปลอมติดในโพรงจมูก

เรื่องนี้เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินข่าวกันมาบ้างที่เด็กเล็กมักชอบเอาของเล่นยัดใส่จมูกแล้วติดอยู่ข้างใน เอาไม่ออก การเลือกของเล่นให้เด็กเล็กไม่ควรเป็นของเล่นที่ลูกสามารถกำได้มิด หรือของเล่นชิ้นส่วนเล็ก ๆ เพราะเมื่อของเล่นเข้าไปติดในโพรงจมูกแล้ว อาจทำให้ลูกหายใจครืดคราดได้ ให้คุณแม่สังเกตอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูกไหลมาข้างเดียว เดี๋ยวเป็น เดี๋ยวหาย น้ำมูกมีกลิ่น เพราะเริ่มมีหนองปนออกมา เสมหะไหลลงคอ ไอบ่อย ปวดจมูก ถอนหายใจบ่อย หรือหายใจทางปากตลอดเวลา

วิธีการป้องกัน และรักษา ไม่ให้สิ่งแปลกปลอมติดในโพรงจมูก

        • ห้ามเด็ดขาด! ห้ามใช้คีม หรือแหนบ หรือเครื่องมือต่าง ๆ คีบเอาสิ่งแปลกปลอมนั้นออกมา เพราะอาจทำให้ยิ่งลึกเข้าไปข้างใน และอาจหลุดไปที่หลอดลม หรือปอด เสี่ยงเสียชีวิตได้
        • ใช้มือปิดจมูกข้างที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ แล้วสั่งน้ำมูกแรง ๆ เพื่อดันให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา แต่ถ้าพยายามแล้วสิ่งแปลกปลอมไม่ออก ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
        • แพทย์จะใช้ที่ส่องโพรงจมูก ซึ่งถ้าพบว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่จริง คุณหมอจะใช้เครื่องมือคีบออกมา

(ติดตามเพิ่มเติม >> ของเล่น ที่เป็นอันตรายต่อเด็กวัยอนุบาล”)

เกิดจากการแพ้อาหาร

แพ้อาหารก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกหายใจครืดคราดได้ อาการแพ้อาหารมีหลายอย่างค่ะ เช่น หายใจครืดคราด ตาบวม ปากบวม เป็นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผวิหนัง ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเหลวรุนแรงหลายครั้ง และมีอาการคัดจมูก เป็นต้น

วิธีการรักษาอาการแพ้อาหาร

      • หากลูกยังกินนมแม่อยู่ ให้คุณแม่หยุดกินอาหารที่สงสัยว่าจะเป็นตัวการในการทำให้ลูกแพ้อาหารทันที
      • หากเป็นเด็กที่กินอาหารเสริมแล้วหรือเด็กที่โตมาสักหน่อย ให้ลูกงดอาหารที่สงสัยว่าแพ้ พร้อมกับสังเกตอาการว่าอาการหายใจครืดคราดนั้นหายไปหรือไม่ โดยให้งดในระยะเวลา 4 – 6 สัปดาห์

เกิดจากโรคหลอดลมอ่อนตัว (Laryngomalacia)

เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากกระดูกอ่อนของหลอดลมไม่แข็งแรง โดยปกติแล้วเมื่อเวลาที่เราหายใจเข้าออก กระดูกส่วนหลอดลมจะแข็ง จะไม่แฟ่บไปตามแรงหายใจเข้าออก แต่เด็กที่เป็นโรคนี้ คือ กระดูกอ่อนของหลอดลมมีการพัฒนากที่ช้ากว่าปกติ จึงทำให้เกิดเสียงครืดคราดได้

วิธีการรักษา โรคหลอดลมอ่อนตัว

      • เด็กที่เป็นโรคนี้แต่ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย โดยปกติแล้วไม่ต้องทำการรักษาแต่อย่างใด ส่วนใหญ่จะดีขึ้นและหายได้เองเมื่ออายุได้ 1 – 2 ปี โดยประมาณ

เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

หากลูกหายใจครืดคราด พร้อมกับมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลทำให้มีไข้ มีเสมหะ และคออักเสบ เมื่อหายจากอาการหวัดแล้ว ลูกอาจมีการหายใจครืดคราดอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นการระบายเอาเสมหะออกมาซึ่งมักจะหายได้เองภายในประมาณ 2 สัปดาห์

วิธีการรักษา การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

เกิดภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD)

ภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดในหลอดอาหารที่อ่อนแรงกว่าปกติ ส่งผลให้น้ำนมหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร ซึ่งอาจมาถึงช่วงคอ จึงทำให้ลูกมีเสียงครืดคราดเวลาหายใจ ซึ่งจะชัดมากเวลาที่ลูกดูดนม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก และวัยผู้ใหญ่

แต่สำหรับภาวะกรดไหลย้อนในทารก ทารกมักจะมีอาการแหวะนม หงุดหงิด ร้องไห้ งอแง ไม่สบายตัว กลืนลำบาก หายใจลำบาก

วิธีการรักษา ภาวะกรดไหลย้อน

      • ปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยด้วยการให้กลืนแป้งหรือมีการตรวจวัดความเป็นกรดที่หลอดอาหาร
      • กินยา แล้วสังเกตอาการว่าตอบสนองต่อยาดีหรือไม่
      • ให้ลูกกินนมอย่างถูกวิธี โดยกินครั้งละน้อย แต่บ่อย
      • เมื่อกินนมหรืออาหารแล้ว อย่าเพิ่งให้ลูกนอนราบ ควรอุ้มเดิน หรือนั่ง เพื่อให้อาหารย่อยเสียก่อน

ด้วยสาเหตุที่ลูกหายใจครืดคราดนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกน้อย ไม่ว่าจะหลังจากที่กินนม กินอาหาร หรือแม้แต่ขณะเล่นของเล่น หากเกิดเหตุการณ์อะไรที่ไม่แน่ใจหรือนอกเหนือจากสาเหตุที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แนะนำปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง pobpad.com, พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, paolohospital.com


Mommy Note

3,139,233 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save