กล้วย ผลไม้พื้นบ้านของไทย หลากหลายสายพันธุ์ ที่ไม่ควรมองข้าม พบมีอยู่ทั่วไปในทุกภาค เพราะปลูกง่าย ตายยาก เจริญเติบโตได้ทุกสภาวะอากาศ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วด้วยหน่อกล้วย มีคุณประโยชน์ทั้งการกินเป็นอาหาร และสรรพคุณทางยา นอกจากนี้ ต้นและใบยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้อีกมากมาย อาทิ ใบกล้วย หรือใบตอง สามารถนำมาใช้ห่อขนม ทำกระทง ทำบายศรี ส่วนลำต้น สามารถนำมาหั่นเป็นฝอยต้มผสมกับข้าวสุก ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น หมู เป็ด ไก่ เป็นต้น ส่วนแกนในของต้นกล้วย สามารถนำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ต้มให้สุก นำไปแกงส้ม (แกงส้มหยวกกล้วย) ได้อร่อยอย่าบอกใครเชียว ดอกกล้วย หรือหัวปลี ก็สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น แกงเลียงหัวปลี ยำหัวปลี หัวปลีต้มสุกจิ้มน้ำพริก หรือนำมาหั่นฝอยกินดิบๆ กับขนมจีนน้ำพริก น้ำยา เป็นต้น นอกจากนี้หัวปลียังมีประโยชน์ในการเพิ่มปริมาณน้ำนมในแม่ลูกอ่อน หรือสตรีในระยะให้นมบุตรอีกด้วย
ทั้งนี้ กล้วยที่พบอยู่ทั่วไปในประเทศไทย มีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนาก และอีกนานาชนิดนับร้อยสายพันธุ์
กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า ถือเป็นผลไม้คุณภาพ ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งรวมของน้ำตาลธรรมชาติถึง 3 ชนิด คือ น้ำตาลกลูโคลส ฟรุกโตส และซุโคลสแล้ว กล้วยน้ำว้ายังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร กากอาหาร กรดอะมิโน โปรตีน อาร์จินีน ฮีสติดีน แคโรทีน แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามิน B1, B2, B6 และวิตามิน C อีกด้วย
ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า
กล้วยหอม
กล้วยหอม นับว่าเป็นผลไม้ยอดนิยม และมีราคาแพง เนื่องจากกลิ่นที่หอมยวนใจ และรสชาติที่ไม่หวานจนเกินไปจึงทำให้คนไทยและชาวต่างชาติ นิยมบริโภคกล้วยหอมกันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหอมประกอบไปด้วยโพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามิน B6 และวิตามิน B12
ประโยชน์ของกล้วยหอม
กล้วยไข่
กล้วยไข่ มีรสหวานหอม ผลเล็กกะทัดรัด แต่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งยังมีเส้นใยอาหารสูง
ประโยชน์ของกล้วยไข่
นอกจากนี้ การรับประทานกล้วยไข่เป็นประจำ ยังมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณเต่งตึง ชลอความชราได้อีกด้วย ส่วนเปลือกไข่ยังสามารถนำมาใช้ทาแผลปริเวณที่ถูกแมลง สัตว์กัดต่อย ได้อีกด้วย
ประโยชน์ของกล้วยนานาชนิด
ข้อควรระวังในการกินกล้วย
แม้ว่ากล้วยนานาชนิดจะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อาหารและยา ทว่า การรับประทานกล้วยก็มีข้อจำกัดด้วยเช่นกัน เนื่องจากกล้วเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง ทั้งยังมีคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลในปริมาณค่อนข้างสูง จึงควรระบประทานอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้หากรับประทานกล้วยไข่หลังตื่นนอนใหม่ๆ จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และอาจส่งผลทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้อีกด้วย ดังนั้นการรับประทานกล้วย(ทุกชนิด) สำหรับป่วย หรือผู้ผู้มีโรคประจำตัว จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำก่อนรับประทาน นั่นเอง
กล้วย เป็นผลไม้พื้นบ้านของไทยเรามาช้านาน จนปัจจุบันกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านการบริโภคเป็นอาหาร นำมาทำเป็นยา รวมไปถึงการนำมาทำเป็นเครื่องใช้สอย (เช่น เชือกกล้วย กระทงใบตอง เป็นต้น) ทั้งนี้การบริโภคกล้วยเป็นอาหาร ถือเป็นแพล่งพลังงานสำรองชั้นเลิศ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร แต่การรับประทานกล้วมากเกินไป ก็อาจเป็นโทษได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรบริโภคแต่พอดี โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ก่อนรับประทานกล้วย ควรทำการปรึกษาแพทย์เสียก่อนว่า ท่านสามารถรับประทานกล้วยได้จำนวนเท่าไรในแต่ละวัน จึงจะได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และไม่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย นั่นเอง
อ้างอิง medthai.com, pobpad.com, baanlaesuan.com