Site icon simplymommynote

เครื่องฟอกอากาศ ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ต้องเลือกอย่างไรให้คุ้มค่ามืออาชีพ

เครื่องฟอกอากาศ ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ต้องเลือกอย่างไรให้คุ้มค่ามืออาชีพ

สถานการณ์เกี่ยวกับ “ค่าฝุ่น PM 2.5” ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องขึ้นๆ ลงๆ แต่ยังไม่หายไปไหนจนเรียกได้ว่าเราติดอันดับท้อปของโลกเลยทีเดียว

ฝุ่น PM 2.5 มาจากไหน? เกิดจากอะไร? อยู่นอกบ้านใช้ N95 ได้ แล้วถ้ามันคืบคลานเข้าไปในบ้าน? เราจะมีตัวช่วยอะไรที่ทำให้เราหายใจได้เต็มปอดมากขึ้น?

อีกหนึ่งตัวช่วยที่หลายๆ คน มองหา และบางยี่ห้อ บางรุ่น ขาดตลาดไปแล้วด้วยซ้ำ นั่นก็คือ “เครื่องฟอกอากาศ” แล้วการเลือกเครื่องฟอกอากาศต้องเลือกอย่างไรให้คุ้มค่า ดูเป็นมืออาชีพ ทุกข้อสงสัยข้างต้น วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันค่ะ

ฝุ่น PM 2.5 มาจากไหน เกิดจากอะไร

สาเหตุมีดังนี้ค่ะ

  1. โรงผลิตไฟฟ้า
  2. ควันที่ออกมาจากท่อไอเสียของรถยนต์
  3. การเผาไม้ทำลายป่า เผาขยะ รวมถึงการเผาเพื่อการเกษตร
  4. การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์
  5. ฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้าง

 

ฝุ่นเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะลอยตัวไปรวมกันอยู่ในอากาศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ก่อนที่ช่วงเช้าจะถูกลมพัดให้ฟุ้งกระจายไป แต่…หากวันไหนที่อากาศนิ่ง ไม่มีลมพัด ก็จะส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 อยู่นิ่งไม่ฟุ้งกระจาย จึงเกิดการสะสมไปเรื่อยๆ ความเข้มข้นของฝุ่นก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นมลพิษในอากาศและส่งผลต่อสุขภาพนั่นเอง

 

5 เทคนิคการเลือกเครื่องฟอกอากาศให้คุ้มค่าอย่างมืออาชีพ

ความละเอียดของฟิลเตอร์ HEPA/EPA

“ไส้กรองอากาศ” คือ หัวใจสำคัญ คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดของเครื่องฟอกอากาศทุกเครื่อง ระบบการทำงานของเครื่องฟอกอากาศเกือบทั้งหมด จะใช้วิธีการฟอกด้วยการนำอากาศเสียวิ่งผ่านไส้กรอง เพื่อให้ได้อากาศที่ดีออกมา โดยมาตรฐานโลกของไส้กรองอากาศนั้นมีชื่อว่า “HEPA (High Efficiency Particulate Air)” ซึ่ง 90% ของฟิลเตอร์เครื่องกรองอากาศที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้จะมีลักษณะเป็นแผงกระดาษที่มีเนื้อเป็นเส้นใยไฟเบอร์ทอมีความหนาระดับหนึ่งวางสลับฟันปลากันไปมา

ถ้าพูดถึงเรื่องความละเอียดในการกรองของ HEPA นับเป็นฟิลเตอร์ที่ละเอียดมากจนถึงระดับที่สามารถดักจับแบคทีเรียและเกษรดอกไม้อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กันได้เลยทีเดียว โดยมาตรฐานของฟิลเตอร์มีตั้งแต่ EPA, HEPA, และ ULPA เรียงตามลำดับความละเอียดในการดักจับฝุ่นละออง ได้ถึง 99.95%-99.995% แต่สำหรับฟิลเตอร์ EPA จะเริ่มต้นที่ 85%-99.5% ดังนั้น ควรเลือกฟิลเตอร์ HEPA ไว้ก่อนดีกว่า

ปริมาณอากาศและขนาดห้อง

สิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ที่เราต้องนำมาพิจารณาด้วยก็คือ “ความสามารถในการฟอกอากาศด้านปริมาณ” เครื่องฟอกอากาศที่สามารถฟอกได้ในปริมาณที่มากกว่าก็ย่อมมีราคาที่สูงกว่า ดังนั้น ก่อนจะซื้อควรคำนึงถึงขนาดห้องที่จะนำไปใช้ด้วยนะคะ

การคำนวณขนาดห้อง เอาแบบง่ายที่สุด คือ

การคำนวณขนาดห้อง กว้าง (เมตร) x ยาว (เมตร) ยังไม่ต้องรวมส่วนสูงของห้อง เว้นเสียแต่ว่าเป็นเพดานสูง 2 ชั้น แบบ Double Volume ผลที่ได้ก็จะเป็นพื้นที่ห้องตารางเมตร เช่น ห้องกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร = พื้นที่ห้อง 24 ตารางเมตร เป็นต้น

การเปลี่ยนฟิลเตอร์เครื่องกรองอากาศในอนาคต

ก่อนซื้อให้คำนึงถึงเรื่องต่างๆ ดังนี้

วิธีเช็คว่าฟิลเตอร์หมด

เลือกเครื่องที่มีระบบเตือน เพื่อที่จะได้รู้ว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้ว แต่ถ้าเป็นเครื่องเล็กๆ บางรุ่นอาจไม่มี

ราคาของฟิลเตอร์

เพื่อเอามาคำนวณค่าใช้จ่ายรายปีค่ะ ซึ่งยี่ห้อที่เป็นรุ่นพรีเมี่ยมบางรุ่น ฟิลเตอร์ก็ไม่ได้แพงเสมอไป ลองเช็คจากผู้ขายดู

ซื้อฟิลเตอร์ได้ที่ไหน

ซื้อออนไลน์ได้หรือเปล่า? ถ้าได้ก็ดีไปเพราะจะมารแข่งขันด้านรากันสูง ทำให้ได้ของดีราคาถูก หรือซื้อจากผู้จำหน่ายเครื่องได้ไหม หรือต้องซื้อจากศูนย์ เป็นต้น

มีฟิลเตอร์ให้เลือกหรือไม่? กี่แบบ?

มีหลายรุ่นที่มีการเพิ่มคุณสมบัติของฟิลเตอร์เข้าไป อาทิ เพิ่มคาร์บอนหรือถ่าน เพื่อช่วยดูดซับกลิ่น หรือบางรุ่นก็เพิ่มความสามารถในการฆ่าเชื้อโรค

ฟังก์ชั่นเสริมในการฆ่าเชื้อโรค

บางยี่ห้อ บางรุ่นอาจใส่ Ozone ที่สามารถฆ่าเซลขนาดเล็กมากได้ แต่ก็จะทำให้เซลในร่างกายเราได้รับผลไปด้วยเช่นกัน หากมีการเปิดใช้นานๆ หรือบางรุ่นมีการปล่อยประจุไฟฟ้าเพื่อฆ่าเชื้อโรคก็มี

ฟังก์ชั่นที่เสริมการทำงานอัตโนมัติ

บางรุ่น บางยี่ห้อ สามารถเชื่อมต่อผ่าน Wi Fi ได้และยังสามารถควบคุมผ่านแอปในมือถือได้อีกด้วย บางเครื่องก็มีการวัดคุณภาพอากาศว่าตอนนี้มีฝุ่นมากหรือน้อยแค่ไหน คือถ้าไม่มีฝุ่นก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องให้แรง เป็นต้น

เพราะทุกวันนี้เหตุการณ์เรื่องฝุ่น PM 2.5 ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและยังไม่มีทีท่าว่าจะเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์ ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีของคนที่เรารักและรักเราจึงเป็นสิ่งสำคัญ ก่อนจะตัดสินใจซื้อเครื่องกรองอากาศ ใจเย็นๆ และข้อมูลให้ดีนะคะ เพื่อประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่าสูงสุด

 

อ้างอิง

Honestdocs.co

iUrban.in.th

Exit mobile version