คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม? จะส่งผลเสียต่อลูกในครรภ์หรือเปล่า?

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม?
อาหาร & โภชนาการ

Last Updated on 2023 03 24

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม? จะส่งผลเสียต่อลูกในครรภ์หรือเปล่า?

คำถามต่าง ๆ เหล่านี้มักถูกถามกันอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคุณแม่ในระยะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีความกังวลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง และลูกน้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องได้รับสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินอย่างครบถ้วน เพื่อสุขภาพของตัวคุณแม่เอง และทารกในครรภ์ โดยเฉพาะวิตามินซีหรืออีกชื่อที่รู้จักกันดีในวงการเภสัชกรรม คือ กรดแอสคอบิค (Ascorbic Acid) ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ แต่มีความจำเป็นสำหรับการเสริมสร้างเนื้อเยื่อ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การต้านอนุมูลอิสระ และการป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคเลือดออกตามไรฟัน ลักปิดลักเปิด โรคไข้หวัด เป็นต้น

วิตามินซีดีต่อแม่และลูกน้อยอย่างไร?

นอกจากวิตามินซีจะดีต่อผิวพรรณ ช่วยลดริ้วรอย ชลอความชรา และช่วยป้องกันโรคต่างๆ ในคนทั่วไปได้แล้ว วิตามินซียังดีต่อแม่และลูกน้อยอีกด้วย ทั้งนี้เพราะวิตามินซีในผักและผลไม้ ที่คุณแม่รับประทานในแต่ละมื้ออาหาร จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายที่อ่อนแอของคุณแม่ ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ คลายความวิตกกังวล ช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้สนิทตลอดทั้งคืน

นอกจากนี้ วิตามิน C จากผักและผลไม้ที่มีเส้นใยไฟเบอร์สูง ยังช่วยในการขับถ่าย ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ช่วยในการขับถ่าย ลดอาการตาพร่า ตาลาย จอประสาทตาเสื่อม อาการวิงเวียนศีรษะ ทั้งยังช่วยให้รกแข็งแรง กระตุ้นการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อของทารก เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิภาพ แข็งแรง และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้กับทารกในครรภ์ได้อีกด้วย

วิตามินซีจากผักและผลไม้ที่แม่ท้องควรกิน

ผักที่มีวิตามินซีสูง

ผักที่มีวิตามินซีสูง มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ที่แม่ท้องควรกิน ได้แก่

ผักคะน้า

คะน้า 100 กรัม มีวิตามินซี 147 มิลลิกรัม

ใบมะรุม

ใบมะรุม 100 กรัม มีวิตามินซี 141 มิลลิกรัม

ปวยเล้ง

ผักปวยเล้ง 100 กรัม มีวิตามินซี 120 มิลลิกรัม

บรอกโคลี

บรอกโคลี 100 กรัม มีวิตามินซี 89.2 มิลลิกรัม

พริกหวาน

พริกหวาน 100 กรัม มีวิตามินซี 80.4 มิลลิกรัม

นอกจากนี้ยังมีผักชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ มะเขือเทศ ฟักทอง ตำลึง กะหล่ำปลี แครอท หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง

ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ที่แม่ท้องควรกิน ได้แก

มะขามป้อม

มะขามป้อม 100 กรัม มีวิตามินซี 276 มิลลิกรัม

ฝรั่ง

ฝรั่ง 100 กรัม มีวิตามินซี 160 มิลลิกรัม

กีวี

กีวี 100 กรัม มีวิตามินซี 105 มิลลิกรัม

ลิ้นจี่

ลิ้นจี่ 100 กรัม มีวิตามินซี 71.5 มิลลิกรัม

มะละกอสุก

มะละกอสุก 100 กรัม มีวิตามินซี 62 มิลลิกรัม

พลับ

ลูกพลับ 100 กรัม มีวิตามินซี 61 มิลลิกรัม

ส้มโอ

ส้มโอ 100 กรัม มีวิตามินซี 61 มิลลิกรัม

สตรอว์เบอร์รี่

สตรอว์เบอรืรี่ 100 กรัม มีวิตามินซี 58.8 มิลลิกรัม

ส้ม

ส้ม 100 กรัม มีวิตามินซี 53 มิลลิกรัม

สับปะรด

สับปะรด 100 กรัม มีวิตามินซี 48 กรัม

นอกจากนี้ยังมีผลไม้หลายชนิด ที่แม่ท้องควรกิน เช่น กลัวย แอปเปิ้ล มะม่วงสุข มะพร่าว แตงโม ลูกพรุน เป็นต้น

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม

ข้อมูลจากหน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุคำแนะนำสำหรับการรับประทานวิตามินซีในคุณแม่ระยะตั้งครรภ์เอาไว้ว่า คนท้องสามารถกินวิตามินซีได้หากอยู่ในขนาดการรับประทานที่เหมาะสม โดยจำเป็นต้องคำนึงถึงอายุของผู้ตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ

คนท้องที่มีอายุ 18 ปี หรือต่ำกว่านั้น

ควรรับประทานวิตามินซีในปริมาณ 80 มิลลิกรัม / วัน เป็นต้น

คนท้องที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป

ควรรับประทานวิตามินซีในปริมาณ 85 มิลลิกรัม / วัน

ทั้งนี้ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องหาซื้อวิตามินซีเสริมมารับประทาน เพราะตามปกติแล้ว ปริมาณการรับประทานวิตามินซีในรูปของอาหาร ที่คุณแม่รับประทานในแต่ละมื้อ ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว นั่นเอง

คุณแม่หลังคลอด (ระยะให้นมบุตร) ควรได้รับวิตามินซีเท่าไหร่

ปริมาณวิตามินซี ที่คุณแม่หลังคลอด หรืออยู่ในระยะให้นมบุตรควรรับประทาน  จะขึ้นอยู่กับอายุของคุณแม่ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ

คุณแม่มีอายุ 18 ปี หรือต่ำกว่านั้น

ปริมาณวิตามิน C ที่ควรได้รับคือ ไม่เกิน 115 มิลลิกรัม/วัน

คุณแม่ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

สามารถบริโภควิตามิน C ได้ไม่เกิน 120 มิลลิกรัม/วัน เป็นต้น

แม่ตั้งครรภ์ควรกินวิตามินซี ช่วงไหนดีที่สุด

แม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานวิตามินซีพร้อมอาหาร หรือหลังอาหาร เพราะจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุด แถมยังช่วยป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหารได้อีกด้วย  ในทางตรงกันข้าม  คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานวิตามินซีเสริม ขณะท้องวางอย่างเด็ดขาดเพราะจะเกิดอาการละคายเคืองในกระเพาะอาหารและเป็นอันตายต่อมารกได้

แม่ตั้งครรภ์กินวิตามินซีมากไป จะอันตรายหรือเปล่า?

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ การรับประทานวิตามิน C มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นโรคหัวใจ เป็นเบาหวาน เป็นโรคนิ่ว เป็นโรค G6PD (โรคขาดเอ็นไซม์ในเม็ดเลือดแดง) โรคโลหิตจาง หรือธาลัสซีเมีย เป็นต้น การรับประทานวิตามิน C เสริม ที่ไม่ใช่ในรูปของอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย และประเมินปริมาณการรับประทานที่เหมาะสม และไม่ควรซื้อมารับประทานเองโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะปริมาณความต้องการวิตามิน C ในคนปกติ กับคุณแม่ตั้งครรภ์มีความแตกต่างกันมาก นั่นเอง

การรับประทานวิตามิน C ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยการบริโภคในรูปของผัก และผลไม้ ในแต่ละมื้ออาหาร เพียงเท่านี้ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน โดยไม่จำเป็นต้องหาซื้อวิตามิน C ในรูปของยาวิตามิน หรืออาหารเสริมมารับประทาน ทั้งนี้เพราะการรับประทานวิตามิน C ที่มากเกินพอดี และติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

อ้างอิง rakluke.com, kapook.com, Mahidol.ac.th,


waayu

330,876 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save