โคลีน (Choline) สารอาหารแห่งการเรียนรู้และความฉลาด

โคลีน (Choline) สารอาหารแห่งการเรียนรู้และความฉลาด
อาหาร & โภชนาการ

โคลีน (Choline) หนึ่งในอาหารสมองสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรพลาดเสริมให้ลูกน้อย เพราะโคลีนมีส่วนช่วยในการสร้างสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การเรียนรู้ (Learning), ความจำ (memory), การสนใจ (Attention) และการมองเห็น นอกจากนี้ โคลีนยังมีความสำคัญต่อการทำงานของสมองและระบบประสาทอีกด้วย อยากให้ลูกน้อยเรียนรู้ไว ฉลาด (IQ) และมีพัฒนาการที่ดี วันนี้เราจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับสารอาหารโคลีนกันให้มากขึ้นค่ะ ว่าแท้จริงแล้วโคลีน คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร เพราะอะไรในนมผงเด็กจึงนิยมใส่สารอาหารนี้ลงไป ไปติดตามกันค่ะ

โคลีน (Choline) คืออะไร

โคลีน (Choline) หรือชื่อทางเคมีว่า 2-hydoxyethyl-trimethyl-ammonium เป็นสารประกอบที่คล้ายกับวิตามินบี จึงจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีและเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ (water-soluble vitamins)

นอกจากนี้ยังเป็นสารที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้ โคลีนเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท และโคลีนยังเป็นสารตั้งต้นของการสร้างอะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ใช้ในการส่งกระแสประสาท (Cholinergic neurotransmission) ของสมอง และมีบทบาทต่อความจำ และการควบคุมกล้ามเนื้อ

อีกทั้ง ยังทำงานร่วมกับอินโนซิทอล (inositol) ในการกำจัดไขมัน และคอเลสเตอรอล โคลีนซึมเข้าสมองและเข้าสู่เซลล์สมอง ทำหน้าที่ช่วยส่งสัญญาณในเซลล์ประสาทได้

ประโยชน์ของโคลีน ต่อพัฒนาการ

สารอาหารโคลีนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของทั้งทารกและเด็กเล็ก ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

พัฒนาการทางสมอง

ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง ส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การเรียนรู้ ความจำ, การสนใจ, และการมองเห็น

เซลล์สื่อประสาท

ช่วยให้การสื่อสารของเซลล์ประสาททำงานได้ดีขึ้น เพราะโคลีนทำหน้าที่ส่งกระแสประสาท ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้ดีขึ้น

ด้านความจำ การเรียนรู้

ช่วยในการสังเคราะห์อะซิติลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ และการเรียนรู้อีกด้วย

ป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด

ป้องกันลูกน้อยไม่ให้เกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neutral Tube Defect) ด้วยการทานอาหารที่มีโคลีน

ลดการสะสมของคอเลสเตอรอล

สารอาหารโคลีนมีส่วนช่วยในการกระจายตัวของคอเลสเตอรอล ส่งผลให้ไม่เกิดการกระจุกหรือการสะสมของคอเลสรอลนั่นเอง

ผลกระทบหากขาดโคลีน

ภาวะขาดโคลีน เป็นภาวะพบได้น้อยมาก เนื่องจากร่างกายสร้างโคลีนได้เอง และสามารถรับจากแหล่งอาหารอื่นๆ เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามสามารถพบภาวะขาดโคลีนได้บางกรณีเช่น หญิงตั้งครรภ์, หญิงให้นมบุตร, หญิงวัยหมดประจำเดือน, นักกีฬาประเภทหักโหม, ดื่มสุราเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งผลกระทบหากขาดโคลีนไม่มีอาการบ่งชี้เฉพาะ

สำหรับในทารกที่ขาดโคลีนหรือได้รับโคลีนไม่เพียงพอตั้งแต่ช่วงวัยแรกๆ การพัฒนาการของสมองอาจไม่ดีเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้เรียนรู้ช้า ความจำไม่ดี หรือขาดสมาธิ

ข้อควรระวังในการบริโภคโคลีน

โคลีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ อย่างไรก็ตามในบางกรณีอาจต้องได้รับโคลีนเสริมเพื่อให้เพียงพอต่อความต่อการของร่างกายและเพื่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญโคลีนควรได้รับในปริมาณที่เพียงพอทั้งคุณแม่และทารกซึ่งปริมาณที่ควรได้รับดังนี้

  • ในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรได้รับโคลีนในปริมาณ 450 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หลังคลอดควรได้รับโคลีนเพิ่มปริมาณเป็น 550 มิลลิกรัม โดยโคลีนจะถูกส่งต่อจากแม่ไปยังลูกน้อยผ่านทางน้ำนม
  • ทารกอายุ 0-6 เดือน ควรได้รับโคลีน 125 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็กอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับโคลีน 150 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับโคลีน 200 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับโคลีน 250 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับโคลีน 375 มิลลิกรัม/วัน

แหล่งอาหารธรรมชาติที่อุดมด้วยโคลีน

โคลีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อทารกและคุณแม่ โคลีนเป็สารอาหารที่ร่างกายสามารถสร้างได้เองและทารกได้รับโคลีนจากนมแม่

นอกจากนี้ยังสามารถเสริมโคลีนให้เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายควรได้รับและในกรณีขาดโคลีนหรือได้รับโคลีนไม่เพียงพอสามารถเสริมโคลีนด้วยผลิตภัณฑ์นมผงเด็กหรือนมที่มีส่วนประกอบของโคลีน

อีกทั้งยังสามารถรับโคลีนจากแหล่งอาหารธรรมชาติอื่นๆ ซึ่งโคลีนพบได้ในอาหารหลายชนิดโดยอยู่ในรูปของโคลีนและเลซิติน ได้แก่

  • ไข่แดง, ตับวัว
  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว และเนื้อหมู
  • ปลา เช่น ปลาค้อด ปลาแซลมอน และปลานิล
  • ผักใบเขียว ผักกาดหอม ผักลงหัวชนิดต่างๆ ผักกาด ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น บรอกโคลี ผักโขม ดอกกะหล่ำ มันฝรั่ง กระหล่ำปลี ธัญพืชขัดสีน้อย
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนมสำหรับคุณแม่
  • ถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถัวลันเตา ถั่วลิสง ถั่วพิสตาชิโอ มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น
  • อาหารแปรรูปที่มีการเติมเลซิติน เช่น ไอศกรีม และเค้ก

สรุป

โคลีนเป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท สมอง และกล้ามเนื้อ นอกจากนี้โคลีนทำหน้าที่ตรงเข้าไปยังเซลล์สมองเพื่อผลิตสารเคมีที่ช่วยเรื่องความทรงจำ

ดังนั้นทารกในครรภ์ได้รับโคลีนจากการทานอาหารของแม่โดยทารกได้รับโคลีนผ่านทางน้ำนมแม่ หรือได้รับโคลีนเสริมจากแหล่งอาหารอื่น ซึ่งโคลีนที่ได้รับนี้ไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท สมอง และความจำ ซึ่งส่งผลให้ลูกน้อยมีความพร้อมในการเรียนรู้และต่อยอดความฉลาดในอนาคต และช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านการจดจำ และส่งเสริมการทำงานของสมองลูกน้อยอย่างสมบูรณ์

คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถเรียนรู้เรื่องสารอาหารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่ อาทิ DHA, ARA และ ทอรีน


Crazy Secret

70,878 views

นักเขียนหลากหลายแนวหลงไหลงานเขียน ไลฟ์สไตล์ ซีรีย์ รีวิว สัตว์เลี้ยง สุขภาพ ความงาม "Writer enjoy and hope will be reader happy" FB: The write เขียน ไป เรื่อย

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save