ความสูงของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนใส่ใจอยากให้ลูกน้อยมีส่วนสูงตามเกฑณ์ของช่วงอายุและมีสุขภาพของกระดูกที่แข็งแรง นอกจากส่วนสูงเกี่ยวกับพันธุกรรมแล้วเรายังสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตและส่วนส่วนสูงให้ลูกน้อยเป็นไปตามช่วงวัยได้ด้วยการรับประทานอาหารเสริม
หนึ่งในอาหารเสริมที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเจริญเติบโตโดยเฉพาะส่วนสูงและความแข็งแรงของกระดูกนั่นคือ “แคลเซียม (Calcium)” ดังนั้น อยากให้ลูกโตตามวัยอย่าลืมเสริมด้วยแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการและปริมาณที่ควรได้รับของลูกน้อย
แคลเซียม (Calcium) คืออะไร
แคลเซียม (Calcium) คือ แร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกาย ประมาณร้อยละ 55 ของแคลเซียมในร่างกายมนุษย์ จะอยู่ในกระดูกและฟัน โดยจับกันเป็นผลึกอยู่กับฟอสฟอรัส
นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมส่วนหนึ่งอยู่ในเลือดโดยจับอยู่กับโปรตีนในเลือดและอยู่ในแคลเซียมอิสระ แคลเซียมมีหน้าที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายเกือบทุกส่วน ยังมีบทบาทสำคัญในการแข็งตัวของเลือด ช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัว ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ และการทำงานของเส้นประสาทตามปกติ ที่สำคัญยังมีหน้าที่สร้างกระดูก ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของร่างกายและมีความสำคัญมากต่อมวลกระดูกและการขยายตัวของกระดูก ดังนั้นการขาดแคลเซียมจะทำให้เกิดปัญหาโรคกระดูกในเด็ก และโรคกระดูกพรุนในผู้ใหญ่
ประโยชน์ของแคลเซียมต่อพัฒนาการ
แคลเซียมบำรุงกระดูก มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และฟันให้แข็งแรงขึ้น นอกจากเรื่องของกระดูกแล้วยังมีในส่วนอื่น ๆ อีก ดังนี้
กล้ามเนื้อระบบประสาท
แคลเซียมมีส่วนช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อระบบประสาทเป็นไปอย่างปกติ ทำให้เกิดการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อทั่วไป รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อเส้นประสาทถูกกระตุ้นร่างกายจะปลดปล่อยแคลเซียมออกมา แคลเซียมจะทำให้โปรตีนในกล้ามเนื้อหดตัว เมื่อร่างกายขับแคลเซียมออกจากกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะคลายตัว
การแข็งตัวของเลือด
กระบวนการแข็งตัวของเลือดมีความซับซ้อนและมีหลายขั้นตอนซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีหลายชนิดรวมถึงแคลเซียม ซึ่งแคลเซียมนับว่ามีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
โปรตีนอื่น ๆ
แคลเซียมช่วยกระตุ้นการทำงานของโปรตีนชนิดอื่น ๆ ที่ช่วยในกระบวนการสร้างและสลายกระดูก
มวลกระดูก
แคลเซียมมีส่วนช่วยให้มวลกระดูกหนาแน่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตสมวัย สูงตามเกณฑ์
เพิ่มความสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
ยกตัวอย่างเช่น หากสูบบุหรี่ ร่างกายจะมีภาวะความเป็นกรด แคลเซียมจะเข้ามามีบทบาทในการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับกรดจากบุหรี่ เพราะแปลว่าบุหรี่ทุกตัวมีความเป็นกรดทำให้แคลเซียมจากกระดูกเสื่อมสลาย ซึ่งหากสูบบุหรี่เป็นประจำการได้รับแคลเซียมเข้าไปก็ไม่สามารถช่วยปรับสมดุลได้
ผลกระทบหากขาดแคลเซียม
แคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กในการเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี เด็กที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออาจเติบโตไม่เต็มศักยภาพ หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
และเมื่อร่างกายเด็กได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกออกมาใช้ หากเกิดขึ้นเป็นประจำและต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดการแตกหักของกระดูกได้ง่าย และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย
ข้อควรระวังในการบริโภคแคลเซียม
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ดังนั้นในแต่ละช่วงวัยควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม หากขาดแคลเซียมหรือได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออาจส่งผลต่อพัฒนาการของร่างกาย อย่างไรก็ตามในการรับประทานแคลเซียมอาจมีข้อควรระวังดังนี้
ในแต่ละช่วงวัยควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม
- เด็กทารกตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 200 มิลลิกรัม/วันจากนมแม่
- เด็กช่วงอายุ 7 เดือน – 1 ปี ควรได้รับแคลเซียม 260 มิลลิกรัม/วัน
- เด็กช่วงอายุ 1 – 3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน
- เด็กช่วงอายุ 4 – 8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม/วัน
- วัยรุ่นช่วงอายุ 9 – 18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม/วัน
การได้รับแคลเซียมมากเกินไป
จะทำให้เสียสมดุลในร่างกายได้ มีการดูดซึมแร่ธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ลดลงเช่น เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
เกิดการสะสม
การได้รับแคลเซียมมากเกินไป อาจก่อให้เกิดการสะสมได้ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต หินปูนในเต้านม มะเร็งเต้านม หินปูนในหลอดเลือด และหลอดเลือดตีบตัน
เลือกแคลเซียมแบบที่ดูดซึมง่าย
การกินแคลเซียมควรเลือกแบบที่ดูดซึมง่าย ผลข้างเคียงน้อย และต้องกินควบคู่กับวิตามินดี
กินพร้อมมื้อเย็น
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกินแคลเซียมคือการกินพร้อมมื้อเย็น ช่วยทำให้สมดุลของแคลเซียมคงที่ สามารถเข้าไปบำรุงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะช่วงกลางคืนร่างกายจะขับแคลเซียมออก จนทำให้ปริมาณแคลเซียมลดต่ำ
แหล่งอาหารธรรมชาติที่มีแคลเซียม
นม เป็นหนึ่งในอาหารที่มีแคลเซียมสูง นอกจากน้ำนมแม่ ผลิตภัณฑ์จากนม ชีส โยเกิร์ตและอาหารที่ทำจากนมอื่นๆ แล้ว ยังมีอาหารประเภทอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายได้เช่นกันอาทิ
- ผักใบเขียว เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักเคล ฟักทองผักร็อคเก็ต บรอกโคลี กระเจี๊ยบเขียว ผักชิโครี่ คอลลาร์ดกรีนส์ ข้าวโพด สาหร่ายทะเล ผักกาดเขียว ผักโขมสุก มะเดื่อแห้งดิบ กีวีดิบ น้ำส้ม เต้าหู้
- ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนต์ ปลาและสัตว์เล็ก
- ปลาแมคเคอเรลบรรจุกระป๋อง ปลาแซลมอนกระป๋องพร้อมกระดูก ปลาซาร์ดีน
อย่างไรก็ตามผักบางชนิดอาจมีปริมาณแคลเซียมสูงเช่น ผักโขม แต่มีสารไฟเตท (Phytate) และ ออกซาเลท (Oxalate) สูง ทำให้ลดการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นจึงแนะนำว่าไม่ควรกินอาหารที่สามารถจับตัวกับแคลเซียมในมื้อเดียวกับอาหารที่มีแคลเซียมสูงหรือกินร่วมกับแคลเซียมเม็ดเสริม
สรุป
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายต้องการเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในส่วนของกระดูกและฟัน ซึ่งมีสำคัญตั้งแต่ช่วงแรกเกิดจนไปถึงช่วงสูงวัยดังนั้นในแต่ละช่วงวัยจึงควรได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมให้เพียงพอต่อความต้องการ หากต้องการให้สูงน้อยมีกระดูกและฟันที่แข็งแรง มีส่วนสูงตามเกณ์ที่เหมาะสม ความเป็นกรด-ด่างในร่างกายมีความสมดุล คุณพ่อคุณแม่ควรเสริมให้ลูกน้อยได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอทั้งจากน้ำนมแม่ นมผงเด็กแรกเกิด และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่าง ๆ อาทิ ให้เหมาะกับช่วงวัยของลูกน้อยที่ควรได้รับ
นอกจากนี้ ทารกและเด็กเล็ก ยังต้องการสารอาหารอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่น ทอรีน, โคลีน, DHA, ARA และ สฟิงโกไมอีลิน สามารถติดตามอ่านเพิ่มได้ในเว็บไซต์ของเรา