ARA (Arachidonic acid) สารอาหารสำคัญที่ลูกน้อยขาดไม่ได้
อาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย สมอง และจิตใจของลูกน้อยมีหลายชนิด หนึ่งในสารอาหารจำเป็นและลุกน้อยไม่ควรขาดนั่นคือ สารอาหาร ARA ซึ่งเป็นสารอาหารที่พบในน้ำนมแม่ ทารกน้อยจึงควรได้รับน้ำนมแม่ตามช่วงวัยและระยะเวลาที่เหมาะสม ดังนั่นก่อนเสริม ARA ให้ลูกน้อยมาทำความรู้จักกับสารอาหารสำคัญ ARA กันก่อนคืออะไร จำเป็นแค่ไหนสำหรับทารกน้อย
ARA (Arachidonic acid) คืออะไร
ARA (Arachidonic acid) หรือ กรดอะราคิโดนิก คือ กรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) อีกทั้งนยังเป็นกรดไขมันชนิดจำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากร่างกายเราไม่สามารถสร้างเองได้จำเป็นต้องได้รับจากแหล่งอาหาร กรดอะราคิโดนิกสร้างจากกรดลิโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นของ Eicosanoids มีความสำคัญในการพัฒนาของระบบประสาทและการทำงานของระบบประสาทตาของทารกอีกด้วยและควรได้รับ ARA ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์แม่
ประโยชน์ของ ARA (Arachidonic acid) ต่อพัฒนาการ
ARA เป็นกรดไขมันชนิดจำเป็นต้องได้รับจากแหล่งอาหาร อีกทั้งยังเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการด้านต่างๆของทารกจึงควรได้รับ ARA ในประมาณที่เหมาะตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ ARA มีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กๆหลายอย่างได้แก่
พัฒนาการสมอง
ARA มีส่วนช่วยในเรื่องของการพัฒนาสมอง การเสริมสร้างเซลล์ประสาทและบำรุงสายตา
ภูมิคุ้มกัน
ส่งเสริมประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกัน ARA เกี่ยวข้องกับการผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันและอาจช่วยสนับสนุนการทำงานของภูมิคุ้มกัน
ช่วยลดการอักเสบ
ARA เกี่ยวข้องกับการผลิตสารประกอบที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกาย
ส่งเสริมสุขภาพผิว
ARA เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผิวหนังและอาจมีส่วนร่วมในการรักษาสุขภาพผิว คืนความชุ่มชื่นให้กับผิวที่แห้งกร้าน บรรเทาอาการอักเสบของสิว ผื่นแดงที่ผิวหนัง (โรคเรื้อนกวาง) ผิวหนังอักเสบ หนังศีรษะอักเสบ ผมร่วง แผลหายช้า เป็นต้น
ช่วยเรื่องการมองเห็น
ส่งเสริมประสิทธิภาพการมองเห็น เนื่องจาก ARA เป็นองค์ประกอบที่พบในเยื่อหุ้มจอประสาทตา มีส่วนช่วยให้การมองเห็นของลูกน้อยดีขึ้น
ทั้งนี้ หากคุณแม่ต้องการอาหารที่ช่วยในการมองเห็น แนะนำนี่เลยค่ะ อะโวคาโดกับเมนูแนะนำที่คุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ แถมได้ประโยชน์
ผลกระทบหากขาด ARA (Arachidonic acid)
ร่างกายของลูกน้อยยังต้องการสารอาหารอย่าง ARA เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ สมวัย แต่ถ้าหากลูกน้อยขาด ARA ไป จะส่งผลกระทบในแต่ละเรื่อง ดังนี้
การทำงานของสมอง
ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง อาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กๆลดลงเมื่อเทียลกับเด็กในวัยเดียวกัน
ประสิทธิภาพการมองเห็น
ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง เนื่องจาก ARA เป็นองค์ประกอบในเยื่อหุ้มจอประสาทตาหากขาด ARA อาจส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็นและการเคลื่อนไหวลดลง
ส่งผลต่อระบบผวหนัง
ARA เป็นส่วนประกอบต่อระบบผวหนังหากขาด ARA อาจจะทำให้ผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อง่าย แผลหายช้า
ข้อควรระวังในการบริโภค ARA (Arachidonic acid)
ข้อควรระวังในการบริโภคกรดอะราคิโดนิกหรือ ARA ไม่ได้มีระบุอย่างจำเพาะ อย่างไรก็ตาม ARA จัดเป็นกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 6 ซึ่งหากได้รับโอเมก้า 6 บริโภคมากไปอาจเร่งให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ควรได้รับโอเมก้า 6 ในสัดส่วนที่เหมาะสมโดยทั่วไปสัดส่วนที่แนะนำระหว่างไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 คือสัดส่วน 1:1 ซึ่งควรได้รับในปริมาณพอๆกัน หรืออยู่ที่ 4 : 1
นอกจากนี้อย่างที่กล่าวข้างต้นทารกควรได้รับ ARA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์จนถึง 3 ขวบปีแรก และดังนั้นองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่อยู่ในช่วงให้นมบุตรควรได้รับ DHA และ ARA อย่างน้อย 200 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากทารกในครรภ์สามารถรับ DHA และ ARA ผ่านทางรก ซึ่งพร้อมนำไปพัฒนาสมองและประสาทตาอย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งอาหารธรรมชาติที่มี ARA
หนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นและสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของทารกนั่นคือ ARA ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยพัฒนาระบบประสาท สมอง การมองเห็นและระบบผิวหนังของทารกให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทารกควรได้รับ ARA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่จนถึงช่วงวัยประมาณ 3 ขวบจากการดื่มนมแม่ หากได้รับ ARA ไม่เพียงพอสามารถเสริมด้วยนมผงเด็กที่มี ARA หรือรับ ARA จากแหล่งอาหารธรรมชาติอื่น ๆ ได้แก่
- พบมากในน้ำมันตับปลาและน้ำมันจากปลาทะเล (fish oil)
- พบได้จากน้ำมันพืช เช่น ถั่วเหลือง,เมล็ดทานตะวัน, รำข้าว, จมูกข้าว น้ำมันรำข้าว, น้ำมันดอกคำฝอย และน้ำมันข้าวโพด
- พบได้ในอาหารจำพวกปลา เช่น ปลาจาระเม็ด, ปลาทู เป็นต้น คุณแม่สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารประเภทปลา พร้อมไอเดียเมนูที่ทำจากปลาได้จากที่นี่
สรุป
ARA มีส่วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านสติปัญญา สมอง การมองเห็น และระบบผิวหนังของทารก ซึ่ง ARA เป็นสารอาหารที่สำคัญพบในน้ำนมแม่ทารกจึงควรได้รับน้ำนมแม่อย่างต่อเนื่องตามช่วงเวลาที่เหมาะ อีกทั้งยังควรได้รับ ARA จากแหล่งอาหารเสริมอื่น ๆ ควบคู่กับการดื่มนมแม่เพื่อให้ทารกน้อยได้รับ ARA ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านอื่น ๆ อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นคุณแม่ควรเสริม ARA ให้ทารกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์รวมถึงหลังคลอดทารก หรือคุณแม่อาจเสริมลูกน้อยด้วยนมผงเด็กที่มีสารอาหารอย่าง ARA ด้วยก็ได้ค่ะ