ฝากครรภ์ สำคัญอย่างไร ฝากตั้งแต่กี่เดือน พร้อมราคา?

ฝากครรภ์ สำคัญอย่างไร ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง พร้อมราคา?
การคลอดและหลังคลอด

Last Updated on 2024 05 16

มีคุณแม่บางท่านที่มาปรึกษาโน้ตในเฟสบุ๊กคุณแม่บ้านบ้าน (Simply Mommy Note) ค่ะว่า “ตอนนี้เขาตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปฝากครรภ์เลย จะฝากดีไหม?” ซึ่งเรื่องของการฝากครรภ์นี้เป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ จากใจของคนเป็นแม่ที่คลอดลูกก่อนกำหนด และวันนี้โน้ตมีเรื่องราวเกี่ยวกับการฝากครรภ์ที่สำคัญ ๆ มาแนะนำค่ะ ไปดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

สารบัญ

ฝากครรภ์ คืออะไร?

การฝากครรภ์ (Antenatal care) คือ การที่คุณแม่ตั้งครรภ์เข้าตรวจสุขภาพและการดูแลเป็นระยะ เพื่อให้สุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์นั้นเป็นไปอย่างปกติ เป็นการดูแลทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ รวมถึงเป็นการเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนอันอาจเกิดขึ้นอันเป็นเหตุนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด

การฝากครรภ์ควรฝากตั้งแต่ไตรมาสแรก หรืออย่างช้าสุดไม่ควรเกินอายุครรภที่ 12 สัปดาห์

ประโยชน์ของการฝากครรภ์

ประโยชน์ของการฝากครรภ์มีอยู่ด้วยกันหลายข้อ ดังนี้

ตรวจวินิจฉัยโรคของแม่ตั้งครรภ์

แพทย์จะทำการตรวจและวินิจฉัยโรคที่เป็นอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อย อาทิ โรคโลหิตจาง, ครรภ์เป็นพิษ, ซิฟิลิส, ติดเชื้อเอดส์ เป็นต้น

ตรวจพัฒนาการทารกในครรภ์

แพทย์จะตรวจหาพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ ตรวจดูท่านอนของลูกว่าปกติดีหรือไม่ หากผิดปกติแพทย์จะทำการแก้ไขให้ เป็นต้น

เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน

เพราะระหว่างการตั้งครรภ์ 9 เดือนนั้น อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ โดยทุกครั้งที่เข้าพบแพทย์ตามนัด แพทย์จะทำการตรวจสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยอย่างละเอียด เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้รับอันตรายน้อยที่สุด ติดเชื้อน้อยที่สุด และเสียเลือดน้อยที่สุดนั่นเอง

ป้องกันอันตรายอันอาจเกิดกับทารก

เมื่อฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์แล้ว การเข้ารับการตรวจทุกครั้งตามแพทย์นัดสำคัญมาก ๆ เพื่อเป็นการลดอัตราการแท้งบุตร, การคลอดก่อนกำหนด, ลดความเสี่ยงลูกเสียชีวิตในครรภ์ และป้องกันการติดเชื้อให้กับลูกน้อยหลังคลอดได้อีกด้วย

เป็นการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณแม่

ระหว่างการตั้งครรภ์ แพทย์จะให้คำแนะนำแก่คุณแม่ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในข้อปฏิบัติระหว่างการตั้งครรภ์ เรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมถึงคุณแม่ยังสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นได้

เตรียมตัวก่อนไปฝากครรภ์

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการไปฝากครรภ์ แต่ไม่รู้ว่าจะมีแนวทางในการเลือกอย่างไร วันนี้เรามีมาแนะนำกัน ดังนี้ค่ะ

เลือกสถานพยาบาลใกล้บ้าน

เดินทางสะดวก เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้ใช้เวลาในการเดินทางไปถึงสถานที่พยาบาลนั้น ๆ ให้น้อยที่สุด

เลือกแพทย์ที่มีความชำนาญ

ควรเลือกแพทย์เฉพาะด้านที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชโดยเฉพาะ เพราะจากประสบการณ์ที่โน้ตคลอดก่อนกำหนด การตัดสินใจของแพทย์มีผลต่อลูกและตัวเราจริง ๆ ค่ะ

เลือกตามงบประมาณ

คุณพ่อคุณแม่อาจะเลือกตามงบประมาณก็ได้ค่ะ ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งก็จะมีความต่างกันในด้านความสะดวกสบาย

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนฝากครรภ์

สิ่งสำคัญในวันคลอดที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมไป มีดังนี้

  • บัตรประชาชนตัวจริง ของทั้งคุณพ่อคุณแม่
  • ประวัติการเจ็บป่วย การเข้ารับการรักษา โรคประจำตัว การแพ้ยา การคลอดลูกมาก่อนหน้า การแท้งบุตร รวมถึงโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด

ฝากครรภ์ครั้งแรก ตรวจอะไรบ้าง

การฝากครรภ์ครั้งแรก คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนอาจกังวล เพราะไม่รู้ว่าแพทย์จะตรวจอะไรบ้าง วันนี้เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

ตรวจปัสสาวะ

เพื่อที่แพทย์จะดูปริมาณน้ำตาลในปัสสาวะว่ามีปะปนออกมาหรือไม่ เป็นการทำให้แน่ใจว่าคุณแม่จะไม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และดูว่ามีโปรตีนปนหรือไม่ เนื่องจากสามารถบอกการทำงานของไตได้ และหากตรวจพบช่วงหลังจากตั้งครรภ์ร่วมกับมีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย เป็นไปได้ว่าคุณแม่อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ

ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

เป็นการระบุได้คร่าว ๆ ถึงเชิงกราน ซึ่งถ้าคุณแม่ตัวเล็กอาจทำให้คลอดแบบธรรมชาตินั้นทำได้ยาก เนื่องจากสัดส่วนไม่พอดีกับศีรษะเด็ก ในขณะที่น้ำหนักจะเป็นตัวบอกได้ว่าคุณแม่มีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์หรือไม่

ตรวจเลือดคุณแม่

โดยจะใช้ประมาณ 10 cc. เพื่อตรวจดูความเข้มของเลือด ส่วนประกอบของเลือด กรุ๊ปเลือด โรคธาลัสซีเมีย  และเพื่อตรวจหาโรคบางอย่าง เช่น หัดเยอรมัน, ซิฟิลิส, เอดส์ และไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น

วัดความดันโลหิต

ความดันโลหิตจะมี 2 ค่า คือ ตัวบนและตัวล่าง โดยตัวบน (หรือตัวหน้า) จะเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว และตัวล่าง (หรือตัวหลัง) จะเป็นความดันโลหิต

ค่าความดันปกติจะอยู่ที่ 120/70 มิลลิเมตรปรอท แต่หากวัดได้เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
อ้างอิงจาก: โรงพยาบาลนครธน

อัลตราซาวด์หน้าท้อง

เพื่อดูท่านอนของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในท่าใด ประมาณน้ำหนักและขนาดของทารก นอกจากนี้ยังสามารถดูอายุครรภ์ของทารกได้จากขนาดของรอบศีรษะได้อีกด้วย

ฝากครรภ์ที่ไหนดี 2566 พร้อมราคา

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่รู้ว่าจะฝากครรภ์ที่ไหนดี วันนี้เรามีมาแนะนำกันค่ะ ทั้งที่เป็นโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ไปดูกันค่ะว่ามีทีไหนบ้าง

โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4

ราคา 39,900 บาท

โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา

ราคา 6,900 บาท

โรงพยาบาลเกษมราษฎร์

ราคา 15,900 บาท

โรงพยาบาลเจ้าพระยา

ราคา 19,900 บาท

โรงพยาบาลสินแพทย์

ราคา 17,900 บาท

โรงพยาบาลวิชัยเวช

ราคา 12,900 บาท

โรงพยาบาลนวเวช

ราคา 16,500 บาท

โรงพยาบาลเวชธานี

ราคา 70,000 บาท

โรงพยาบาลกรุงเทพ

ราคา 87,000 บาท

รวมเบอร์โทรโรงพยาบาลรัฐบาล

สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาลอื่น ๆ คุณแม่สามารถโทรสอบถามได้จากลิงก์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
รวมเบอร์โทรโรงพยาบาลรัฐบาล

เรื่องของการฝากครรภ์เป็นนเรื่องสำคัญมากค่ะ จะฝากครรภ์ตอนไหนดี? แนะนำจะให้ดีที่สุดควรฝากทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ค่ะ เพื่อที่แพทย์จะให้ยาบำรุงครรภ์มาด้วยซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่อย่างมากในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก และหลังจากฝากครรภ์แล้วควรพบแพทย์ทุกครั้งตามที่แพทย์นัดนะคะ เพื่อความปลอดภัยและความแข็งแรงของคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

 


Mommy Note

3,140,821 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save