คุณแม่หัวนมบอด จะนมลูกได้อย่างไร พร้อมวิธีแก้
อาการหัวนมบอดสามารถเกิดขึ้นได้ในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ฟังดูเหมือนจะเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ได้มีผลอะไร แต่มีผลกับคุณแม่ในระยะให้นมบุตร คุณแม่ที่กำลังมีลูกน้อยระยะให้นมบุตรท่านไหนมีประสบการณ์หัวนมบอด บางท่านอาจจะไม่เข้าใจว่าลักษณะหัวนมบอดคืออะไรกัน ที่สำคัญอาการหัวนมบอดส่งอย่างไรต่อการให้นมลูกน้อย วันนี้เรามาคำตอบเรื่องนี้ไปพร้อมๆกัน
หัวนมบอด คืออะไร?
อาการหัวนมบอดคือ อาการหัวนมคุณแม่มุดลงไปในเต้านม ทำให้ดูเหมือนไม่มีหัวนมหรือหัวนมสั้นกว่าปกติ หรืออาจมาจากการมีพังพืดเกิดขึ้นบริเวณใต้ชั้นผิวหนังทำให้ดึงรั้งส่วนของหัวนมไว้ เป็นความผิดปกติจากพัฒนาการของเต้านมในคุณแม่แต่ละท่านอาจมีการหยุดพัฒนาก่อนกำหนด จึงทำให้เกิดภาวะดังกล่าวที่เรียกว่า ลักษณะหัวนมบอด
ลักษณะหัวนมบอด
มาดูกันค่ะว่าลักษณะหัวนมบอดแต่ละระยะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง โดยแต่ละลักษณะจะแบ่งตามระดับความรุนแรง ซึ่งเป็นออกเป็น 3 ระดับดังต่อไปนี้
หัวนมบอดขั้นต้น
หรือหัวนมบอดระยะที่ 1 (Inverted Nipples Grade 1) ในระยะนี้เป็นระยะเริ่มต้นลักษณะหัวนมจะแบนเรียบยุบตัวเข้าไปในเต้านมเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังสามารถใช้มือดึงหัวนมออกมาจากเต้านมได้ หรือสามารถยื่นออกมาได้เองในกรณีที่ลูกมีการดูดนม หรือมีการสัมผัส รวมทั้งช่วงอุณภูมิอากาศเย็นๆ ยังสามารถยื่นออกมาได้เอง
หัวนมบอดชั้นกลาง
หรือหัวนมบอดระดับปานกลาง ระยะที่ 2 (Inverted Nipples Grade 2) ในระยะนี้หัวนมที่ยุบเข้าไปในเต้านมจะค่อนข้างดึงออกมายากกว่าในระยะที่ 1 หรือหากดึงออกมาแล้วสามารถอยู่ได้เพียงชั่วคราวแล้วมุดเข้าไปที่เดิม ระยะนี้คุณแม่บางท่านยังสามารถให้นมบุตรได้ปกติ แต่บางท่านไม่สามารถให้นมบุตรได้เนื่องจากการรั้งตัวของท่อน้ำนมภายใต้ชั้นผิวหนัง
หัวนมบอดขั้นรุนแรง
หรือหัวนมบอดระยะที่ 3 (Inverted Nipples Grade 3) ระยะนี้คุณแม่ไม่สามารถดึงหัวนมที่ยุบตัวออกมาได้ ลักษณะคล้ายหลุมสะดือ เพราะหัวนมจะยุบตัวเข้าไปในเต้านมทั้งหมด นอกจากนี้ท่อน้ำนมจะเกิดการรั้งตัวและคดอยู่ด้านในทำให้ไม่สามารถให้นมลูกน้อยได้ และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อข้างในรูหัวนมได้
วิธีแก้หัวนมบอด
อาการหัวนมบอดในแต่ละระยะมีวิธีแก้แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วหากสามารถดึงหัวนมออกมาได้ก็สามารถให้นมลูกได้ตามปกติ แต่บางกรณีไม่สามารถดึงออกมาได้ส่งผลต่อการให้นมบุตร มาดูวิธีเบื้องต้นในการแก้ไขอาการหัวนมบอดกันค่ะ
จิ้ม กด แยก
โดยใช้นิ้วชี้ทั้ง 2 ข้างแตะบริเวณข้างหัวนม จากนั้นกดนิ้วทั้ง 2 ลงไป และทำการแยกหัวนมออกด้านข้างและปล่อยกลับที่เดิม ทำซ้ำประมาณ 2-3 รอบ
บีบ ดึง ปล่อย
โดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้จับบริเวณหัวนมไว้แล้วดึงเบาๆ ทำติดต่อกัน 2-3 ครั้ง และสามารถมั่นดึงบ่อยๆขณะอาบน้ำได้ เพื่อช่วยลดพังผืดที่รั้งหัวนม
บีบเต้านม
เพื่อกระตุ้นการสร้างหัวนม โดยบีบเต้านมทั้ง 2 ข้างเข้าไปหากันตรงกลาง จากนั้นใช้นิ้วคีบหัวนมขึ้นมา สามารถทำได้สม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 20 ครั้ง
ใช้นิ้วมือทั้ง 2 นิ้วจับบริเวณหัวนม
แล้ววนไปด้านซ้ายและขวาเบาๆ ติดต่อกันนาน 30 วินาที
ใช้ที่ปั๊มนม
เป็นวิธีที่ผลที่สุดการใช้ที่ปั๊มหัวนมบอด เป็นการใช้แรงดึงจากตรงกลางหัวนม สามารถสลายพังผืดที่รั้งหัวนมได้
ใช้อุปกรณ์กดลานนมหรือปทุมแก้ว
เป็นพลาสติกวงกลม 2 ชั้น มีรูตรงกลาง ช่วยนวดบริเวณเต้านมเพิ่มความอ่อนให้ลานนม ทำให้หัวนมคุณแม่โผล่ได้ง่ายขึ้น
ใช้แผ่นครอบหัวนม
ลักษณะเป็นแผ่นซิลิโคนบางๆ มีรูด้านปลายพอดีกับหัวนม ช่วยกระตุ้รนให้ลูกเข้าถึงลานนมได้ง่าย
หัวนมบอดให้นมลูกได้ไหม
อาการหัวนมบอดที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ในระยะให้นมลูก ยังสามารถให้นมลูกได้เช่นเดิมขึ้นอยู่กับระยะหัวนมบอดว่าคุณแม่อยู่ในระยะรุนแรงหรือไม่ แม้ว่าคุณแม่อยู่ในระยะหัวนมบอดขั้นรุนแรงยังสามารถให้นมลูกน้อยได้แต่อาจต้องมีอุปกรณ์เสริมช่วย อาทิ ที่ปั๊มหัวนมบอด และอีกวิธีแก้สำหรับคุณแม่ที่มีลักษณะหัวนมบอดคือการผ่าตัดรักษาปัญหา โดยผ่ารอบๆหัวนม ตัดพังผืดที่ดึงรั้งหัวนมออก วิธีนี้อามีความเสี่ยงต่อท่อน้ำนมจนไม่สามารถให้นมบุตรได้
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าลักษณะหัวนมบอดสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและชาย ในคนปกติทั่วไปอาจจะไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่ แต่ในคุณแม่ที่ต้องให้นมลูกด้วยแล้วนั้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการให้นมลูก อย่างไรก็ตามสามารถไขลักษณะหัวนมบอดได้ตามระดับความรุนแรง หรือหากอยู่ในระยะรุนแรงมากอาจต้องใช้อุปกรณ์เสริม อย่างที่ปั๊มหัวนมบอดช่วย ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลากแบบ หลายยี่ห้อ หากคุณแม่ท่านไหนมีลักษณะหัวนมบอดสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นได้ อาจเป็นวิธีเบื้องต้นในการแก้ไขหัวนมบอด และสามารถให้นมลูกน้อยได้ตามปกติ