7 สีประจำเดือน บอกโรคได้ สีแบบไหนที่ผิดปกติ

7 สีประจำเดือน บอกโรคได้ สีแบบไหนที่ผิดปกติ
ไลฟ์สไตล์

Last Updated on 2023 03 24

ผู้หญิงเราเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อที่ผนังมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อเตรียมรองรับการตั้งครรภ์ หากไม่มีการปฏิสนธิก็จะหลุดลอกออกมาเป็น “ประจำเดือน” หรือ “เมนส์(Menstruation) แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า เจ้าประจำเดือนนี่แหละที่สามารถส่งสัญญาณความผิดปกติหรืออาการภายในต่าง ๆ ของผู้หญิงได้ วันนี้จึงขอชวนคุณผู้หญิงทั้งหลายมาสังเกต 7 สีประจำเดือนของตัวเองกันค่ะ แบบไหนบอกโรค หรือแบบไหนที่ปกติ

7 สีประจำเดือน มีอะไรบ้าง?

สีแดงสด คล้ายแครนเบอรี่ (Bright Red)

เป็นสัญญาณที่ดี บ่งบอกให้รู้ว่าสุขภาพแข็งแรงดีมาก แต่สิ่งที่ควรสังเกต คือ หากคุณมีประจำเดือนสีแดงสดแบบนี้เกิน 8 วัน นั่นหมายความว่าอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ควรพบแพทย์ทันที

สีชมพูแดง คล้ายดอกกุหลาบ (Reddish-Pink)

อาจมีเลือดผสมกับสารคัดหลั่งภายในออกมา ที่อาจเกิดจากการมีบาดแผลภายใน หรือการแปรปรวนของระดับฮอร์โมนหรืออาจเป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่าคุณกำลังตั้งท้องอ่อน ๆ อยู่ก็เป็นได้

สีแดงเข้ม คล้ายสตรอเบอรี่ (Heavy Flow)

ผู้หญิงส่วนใหญ่ล้วนคุ้นเคยและมีประสบการณ์กับวันนั้นของเดือนเป็นอย่างดี มักเกิดขึ้นในช่วงวันมามาก อันเนื่องมาจากสภาพอากาศหรือความร้อนที่เป็นตัวผลักดันให้มดลูกทำงานหนักมากขึ้น (เลือดเดินไว เดินเยอะ)

สีแดงคล้ำ คล้ายสีเชอร์รี่ดำ (Deep Burgundy / Black Cherry)

ในช่วงวันที่มามากของรอบเดือนอาจจะเป็นสีโทนแบบนี้ได้ คือ สีแดงอมดำ ดูคล้ำ ๆ คล้ายเชอร์รี่สีน้ำตาล ถือเป็นเรื่องปกติ ยกเว้นแต่มีสีแดงคล้ำหรือสีเชอร์รี่ดำแบบนี้เกินกว่า 3 วันขึ้นไป อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับผังผืดภายในมดลูก หรืออาจจะเป็นสัญญาณของเนื้องอกได้

สีแดงส้ม คล้ายน้ำมะเขือเทศ (Red Orange)

เห็นสีแบบนี้อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปกตินะคะ! ควรต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะนั่นอาจหมายถึงการติดเชื้อภายใน  จนทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับได้ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

สีน้ำตาลดำ คล้ายช็อคโกแลต (Brown Black)

หากวันนั้นของเดือนมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ อาจดูน่ากลัวแต่จริง ๆ แล้วถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะเป็นการขับเลือดเก่าภายในร่างกายของเราออกมา ไม่ว่าจะเป็นวันแรก ๆ ของรอบเดือน หรือวันมามาก หรือวันสุดท้ายของรอบ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

เป็นจุด ๆ (Spotted)

หากประจำเดือนของคุณมีลักษณะเป็นวง ๆ ดวง ๆ จุด ๆ โดยทั่วไปแล้วอาจเกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับวันที่มาน้อย มีลักษณะเป็นคราบสีซีดหรือสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนความไม่สมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกาย หรือเตือนให้รู้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่

สีประจำเดือน แบบไหนควรพบแพทย์

สิ่งที่คุณผู้หญิงควรกังวล ไม่ได้อยู่ที่สีประจำเดือนเพียงอย่างเดียว แต่ควรสังเกตอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย

สี

โดยทั่วไปประจำเดือนสามารถมีสีที่ต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็น สีแดงสด แดงเข้ม น้ำตาล ไปจนถึงสีคล้ำเกือบดำ โดยเลือดที่ออกมาใหม่จะเป็นสีแดงสด แต่บางครั้งเลือดที่ยังตกค้างอยู่ในโพรงมดลูกหรือช่องคลอดก่อนจะออกมาสู่ภายนอก จากสีแดงสดก็จะเริ่มคล้ำ จนกลายเป็นสีน้ำตาลหรือดำได้ แต่หากพบว่า

มีเลือดออก ร่วมกับประวัติประจำเดือนขาด

มาช้า หรือมาน้อยกว่าปกติ ให้สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์แล้วมีเลือดออก ไม่ว่าจะเป็นสีอะไร ควรมาพบแพทย์

มีเลือดออกสีแดงสด หรือสีคล้ำ

มาไม่ตรงรอบ ปริมาณไม่มาก มีอาการตกขาวร่วมด้วย อาจมีการติดเชื้อที่ปากมดลูก หรือมดลูก

เลือดออกเป็นสีแดงสด และมามาก

มานานกว่าปกติ หากเป็นแบบนี้หลาย ๆ เดือน ให้ระวังอาจมีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกในมดลูก

เลือดเป็นสีแดงจาง ๆ ปริมาณน้อย

มากะปริดกะปรอย อาจเกิดจากการใช้ยาคุมกำเนิด วัยใกล้หมดประจำเดือน หรือเป็นเลือดออกช่วงกลางรอบเดือนที่เกิดจากการมีไข่ตกได้

เลือดเป็นสีเทา

สีปนเขียว ๆ ข้น ร่วมกับตกขาวมาก มีอาการปวดท้องน้อย หรือมีไข้ร่วมด้วย อาจเป็นอาการบ่งบอกถึงการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ปริมาณ

ประจำเดือนส่วนใหญ่จะมามากในช่วง 2 วันแรก จากนั้นจึงค่อย ๆ ลดปริมาณลงจนหมดไป โดยเลือดประจำเดือนในแต่ละ 1 รอบ ต้องไม่เกิน 80 ซีซี สังเกตโดยหากต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยเปียกชุ่มทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง  จัดว่าเป็นผู้มีประจำเดือนมากเป็นปกติ  แต่หากต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 1 ชั่วโมงและยังเป็นแบบนี้ตลอดช่วงมีประจำเดือนหรือมีประจำเดือนนานกว่า  8 วัน ถือว่ามีความผิดปกติกับร่างกาย เช่น การติดเชื้อ  เลือดจาง  ฮอร์โมนไม่สมดุล หรือเกิดเนื้องอกมดลูก หรือหากมาน้อย กระปิดกระปอยก็ควรพบแพทย์

อาการปวดท้อง

ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาปวดท้องทั้งแบบปวดบีบและปวดเกร็งมากถึงประมาณ 70% ซึ่งอาการปวดท้องประจำเดือน เกิดจากการหลั่งสาร โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็ง ในกรณีที่ร่างกายหลั่งสารปริมาณมากจะยิ่งทำให้ปวดรุนแรงขึ้น มีอาการคลื่นไส้และท้องเสียร่วมด้วย แต่หากพบอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรงบ่อยมากๆ หรือเกือบทุกครั้งที่มีประจำเดือน อาจเกิดจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือมีเนื้องอกในมดลูก

รอบประจำเดือน

โดยทั่วไปรอบเดือนจะอยู่ในช่วง 28 + 7 วัน โดยแต่ละรอบควรมาเวลาใกล้เคียงกัน หรือห่างกันไม่เกิน 7-9 วัน   กรณีที่ประจำเดือนขาดหายบ่อยครั้ง หรือมาถี่กว่าปกติ เดือนละ 2-3 ครั้ง    อาจบ่งชี้ว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลหรือเกิดโรคภายในอวัยวะสืบพันธุ์  จึงควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

ดังนั้นคุณผู้หญิงควรหมั่นสังเกต สีของประจำเดือน ปริมาณ  ความถี่ของรอบเดือน และอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเสมอนะคะ ประจำเดือนถือเป็นข้อดีที่ธรรมชาติสร้างมาเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ เพราะสามารถบอกถึงสุขภาพ และความผิดปกติภายในร่างกายของผู้หญิงได้เป็นอย่างดี หากเรารู้จักและเข้าใจความพิเศษนี้ค่ะ


Mommy Gift

157,074 views

แม่น้องสปิน คุณแม่ฟูลไทม์ ที่เชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติอย่างสมดุลทั้งภายใน-ภายนอก และเชื่อว่าลูกคือครู จึงทําให้สนใจความเป็นไปของผู้คน จิตวิทยาความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรม(ะ)ชาติ ชื่นชอบการทำอาหาร งาน Handmade อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ Facebook : Gift Bfive IG : spin_ramil

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save