ลูก 6 เดือน ไม่คว่ำตัว เพราะอะไร? แบบไหนที่เรียกว่าพัฒนาการช้า
โดยปกติแล้วเด็กในช่วงวัย 6 เดือน สมควรที่จะนอนคว่ำตัวได้แล้ว คุณแม่บางคนอาจจะกังวลว่าทำไมลูกถึงไม่คว่ำตัวสักที กลัวว่าลูกจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติต่างจากคนอื่น บทความนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องคว่ำตัวกันค่ะ พร้อมทั้งยังมีวิธีฝึกให้ลูกคว่ำตัวมาแชร์ให้แม่ ๆ ได้ศึกษากันค่ะ
สาเหตุ ลูกไม่คว่ำตัว
เป็นไปตามปกติอยู่แล้วที่คุณพ่อคุณแม่จะเฝ้าดูพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของลูกน้อย โดยที่อยากให้ลูกน้อยมีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจไม่มีความปกติใด ๆ ในชีวิต ถ้าหากลูกคว่ำตัวตอนช่วง 6 – 7 เดือนยังนับว่ามีความเป็นปกติอยู่ แต่ถ้าเลย 7 เดือนไปแล้วลูกอาจจะพัฒนาการช้า ให้ทำการปรึกษาคุณหมอเพื่อเช็คกันต่อไป สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่คว่ำตัวมีดังนี้
พลิกตัวยาก
ถ้าหากลูกน้อยนอนอยู่บนที่นอนหรือฟูกที่มีสัมผัสนิ่มมากจนเกินไปจะทำให้การพลิกตัวเป็นไปได้อย่างยากลำบาก ยิ่งถ้าเป็นทารกวัยต่ำกว่า 3 เดือนที่คอยังไม่แข็ง คุณแม่ไม่ควรวางผ้าห่ม หมอนข้างเอาไว้ข้างตัวลูก เพราะสิ่งเหล่านั้นสามารถทำให้ลูกหายใจไม่ออกได้
น้ำหนักตัวมาก
เด็กที่มีน้ำหนักตัวเยอะกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม มีพุงใหญ่กว่าปกติ จะยิ่งทำให้การพลิกตัวเป็นได้อยากกว่าเดิมมาก ๆ หากเจ้าตัวเล็กสามารถตะแคงตัวได้บ้างแล้วให้คุณแม่ช่วยดันเพื่อให้ลูกพลิกคว่ำ
เด็กไม่ชอบพลิกตัว
โดยพื้นฐานแล้วเด็กอาจจะไม่ชอบในการพลิกตัว คุณแม่อาจจะเคยช่วยเด็กให้นอนคว่ำแล้วแต่เด็กรู้สึกว่าตัวเขาไม่ชอบนอนคว่ำ จึงเป็นสาเหตุที่เด็กไม่ยอมคว่ำตัว
สัญญาณที่บอกว่าลูก 6 เดือน มีพัฒนาการช้า
ตามปกติแล้วเด็ก 6 เดือนจะสามารถคว่ำตัวเองได้มากกว่า 80% หรือในเด็กบางคนอาจจะต้องใช้มือช่วยดันหลังเขาหน่อยเพื่อให้การพลิกตัวง่ายขึ้น แต่ถ้าลูกยังไม่ยอมพลิกคว่ำตัวในบางพฤติกรรมของลูกน้อยอาจจะแสดงให้เห็นว่าเขามีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กในช่วงวัยเดียวกัน สัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็ก 6 เดือนมีพัฒนาการช้ากว่าปกติมีดังนี้
ไม่ส่งเสียง
เด็กที่ไม่ส่งเสียง ไม่พูด พูดช้า ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะในบางคนอาจจะแสดงให้เห็นได้ว่าเด็กมองไม่เห็นผู้ที่อยู่ตรงหน้า
ไม่กลัวคนแปลกหน้า
เด็กที่มีพี่เลี้ยงหลาย ๆ คนจะทำให้ตัวเด็กเองไม่สนิทกับคุณแม่มากนัก เด็กจะรู้สึกไม่กลัวใครและไม่ได้อยากที่จะให้ใครอุ้มหรืออยู่กับใครเป็นพิเศษ
ไม่หันตามเสียง
เวลาที่มีคนเรียกหรือคุยด้วยแต่เด็กไม่หันไปตามเสียงพูด ไม่มองหน้าคนพูด ไม่สื่อสารกับคนที่พูดด้วย เด็กอาจจะไม่เข้าใจในภาษาที่ใช้สื่อสารหรือเด็กอาจจะมีความผิดปกติทางการได้ยินได้
ไม่หยิบจับของเล่น
ปกติแล้วเด็กในวัยนี้มักจะเริ่มคว้า หยิบ จับ สิ่งของที่อยู่รอบ ๆ ตัวแล้วโดยเฉพาะของเล่น แต่ถ้าหากเด็กไม่ยอมหยิบหรือจับอาจะมีความผิดปกติทางด้านการมองเห็นหรือความผิดปกติทางด้านกล้ามเนื้อ
ไม่คว่ำตัว
เด็กที่ไม่ยอมพลิกตัวช่วง 6 เดือน อาจจะแสดงให้เห็นว่าเด็กอาจมีความผิดปกติทางด้านระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ
เปลี่ยนท่านอนไม่ได้
เด็กช่วงวัย 6 เดือนจะสามารถพลิกคว่ำได้แล้วหรือคุณพ่อคุณแม่จับคว่ำ แต่เด็กไม่สามารถที่จะพลิกตัวเองเพื่อกลับมาอยู่ในท่านอนหงายได้
กล้ามเนื้อผิดปกติ
เด็กที่มีลักษณะท่านั่งเป็นตัว W ขาของเด็กเกร็งอยู่ตลอดเวลา จะส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อตามมาในภายหลังได้
วิธีฝึกลูก 6 เดือนคว่ำตัว
การฝึกให้ลูกวัย 6 เดือนให้คว่ำตัวนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นเท่าไรนัก เพียงแค่ต้องหมั่นฝึกฝนอยู่บ่อยครั้งเพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยอยากที่จะนอนคว่ำ วิธีการฝึกลูกมีดังนี้
ดึงดูดความสนใจ
คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง หรือพี่เลี้ยง ต้องหมั่นพูดคุยกับเด็ก ใช้เสียงที่ 3 4 5 หรือใช้เสียงสัตว์เพื่อทำให้เด็ดรู้สึกสนใจกับเสียงที่อยู่ตรงหน้า
ของเล่นมุมสูง
การห้อยของเล่นเอาไว้ที่มุมสูง ห่างจากลูกประมาณ 1 ฟุต เวลาไกวเปลแล้วของเล่นจะแกว่งไปด้วย เด็กจะสนใจสิ่งที่กำลังแกว่งอยู่
กลิ้งลูกบอล
คุณแม่หาลูกบอลที่มีเสียงกระดิ่งมาเพื่อกลิ้งให้ลูกน้อยสนใจ กลิ้งไปกลิ้งมาจนเขามองตามแบบไม่ละสายตา
คอกกั้น
สร้างคอกกลั้นขึ้นมาเพื่อให้เป็นพื้นที่ในการพลิกตัวของลูก เพราะการพลิกตัวในเปลนั้นไม่สะดวกเอามาก ๆ จะทำให้เด็กไม่อยากพลิกตัวได้
อุ้มมือเดียว
ให้คุณแม่อุ้มเจ้าตัวเล็กด้วยแขนข้างเดียว คล้องแขนไปที่บริเวณอกของลูกเพื่อทำการหิ้ว แต่วิธีนี้ใช้กับเด็กที่มีน้ำหนักเยอะไม่ได้นะ เพราะเด็กอาจจะหล่นลงมาได้
อุ้มสองมือ
คุณแม่ใช้วิธรการอุ้มลูกน้อยมานั่งตัก โดยที่จัดวางตำแหน่งให้นั่งห่างจากแม่เพื่อฝึกให้กล้ามเนื้อคอและแผ่นหลังแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
เด็กวัย 6 เดือนที่ไม่ยอมคว่ำตัวสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุหรือตัวเด็กเองมีความผิดปกติทางด้านใดด้านหนึ่ง ทางที่ดีคุณพ่อพุณแม่ควรสังเกตเจ้าตัวเล็กอยู่ตลอดเวลาเพื่อดพัฒนาการว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติดีหรือไม่