• HOME
  • BLOG
  • โรค
  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มี 3 ระดับ พ่อแม่ควรรู้ เพื่อการรับมือ

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มี 3 ระดับ พ่อแม่ควรรู้ เพื่อการรับมือ

01092021_ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มี 3 ระดับ พ่อแม่ควรรู้ เพื่อการรับมือ
โรค

Last Updated on 2021 10 23

แม่โน้ตเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนคงพอทราบกันมาบ้าง ว่าหลังคลอดส่วนใหญ่แล้ว คุณแม่มักจะมีอาการหรือเข้าสู่ “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum blue หรือ Baby Blue) แต่ความจริงแล้วภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีความรุนแรงทั้งหมดถึง 3 ระดับ มีอาการจากเบาไปหาหนักหรือที่เราเรียกว่า “ภาวะ” ไปจนถึงขั้นเป็น “โรค” ที่สำคัญ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนี้ คุณพ่อก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน

สารบัญ

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum blue หรือ Baby Blue)

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จะเกิดขึ้นหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้ว 3 – 10 วัน เนื่องจาก…

ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง

ทันทีคุณแม่รู้ว่าตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายก็มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหลังคลอดฮอร์โมนก็จะลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับร่างกายและอารมณ์

ความเครียดทั่วไป

เช่น การเจ็บแผลหลังคลอด การอดนอน หรือนอนน้อย เพราะต้องดูแลลูก รวมถึงการที่ไม่มีใครช่วยเลี้ยงลูก คุณแม่ต้องเลี้ยงคนเดียว ร่างกายจึงอ่อนเพลีย เกิดความวิตกกังวล สะสมเป็นความเครียด อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีอาการมากขึ้น

เนื่องจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีทั้งหมด 3 ระดับ มีอาการจากน้อยไปหามาก ซึ่งกว่าที่ “ภาวะ” จะพัฒนาไปเป็น “โรค” ได้ ก็จะมีปัจจัย ดังนี้

เคยมีประวัติเป็นโรคไบโพลาร์มาก่อน

คุณแม่ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคไบโพลาร์มาก่อน ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือหลังคลอด มีโอกาสเสี่ยงที่เกิดโรคซึมเศร้าซ้ำได้อีก

ตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม

ปัญหาการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม จะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมากมาย ทั้งที่ฝ่ายชายยอมรับและไม่ยอมรับ

มีปัญหาด้านสุขภาพสะสม

เช่น ก่อนหน้านี้มีอาการแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิด รวมถึงบางครอบครัวมีความเครียดสะสม อันเกิดจากการทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว เป็นต้น

แม่มีปัญหาในการให้นม

คุณแม่บางรายอาจมีน้ำนมให้ลูกน้อยมาก พยายามทำทุกวิถีทางแล้วน้ำนมก็ไม่ยอมเยอะขึ้นสักที จึงเกิดความเครียด คราวนี้ยิ่งเครียด น้ำนมยิ่งน้อยเข้าไปอีก

มีปัญหาด้านการเงิน

กังวลว่าจะมีเงินไม่พอที่จะเลี้ยงลูกให้ดีเท่าที่คุณพ่อคุณแม่คิดหรือคาดหวังได้

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum blue หรือ Baby Blue)

ต้องยอมรับว่าหลังจากที่แม่โน้ตคลอดน้องมิน แม่โน้ตคิดเข้าข้างตัวเองนะว่าเราคงไม่เป็นหรอก ภาวะซึมเศร้า แต่เอาเข้าจริง พอเรามานั่งทบทวน อืม…เราเป็นจริง ๆ แห๊ะ ซึ่งจะมีอาการตามนี้เลยค่ะ ถือว่าเป็นอาการที่ไม่รุนแรงนะคะ

อาการ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

  • อ่อนเพลีย
  • วิตกกังวล
  • อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ
  • หงุดหงิดง่าย
  • ร้องไห้ง่าย
  • เศร้าง่าย
  • บางครั้งก็เซื่องซึม

การวินิจฉัย ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะให้ทำแบบทดสอบก่อน และ/หรืออาจมีการเจาะเลือดร่วมด้วย เพราะอาจมีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ไฮโปไทรอยด์

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)

เป็นอาการที่เกิดต่อเนื่องจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แต่หากยังคงมีอาการที่นานเกิน 2 สัปดาห์ แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

อาการ โรคซึมเศร้าหลังคลอด

  • ซึมเศร้า รู้สึกหม่นหมอง ทุกอย่างหดหู่ ร้องไห้
  • รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเลี้ยงลูก กิจกรรมที่เคยชอบทำก็ไม่อยากทำ รู้สึกไม่สนุกเหมือนเคย
  • เบื่ออาหาร บางรายก็อยากกินอาหารตลอดเวลา
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย จนไม่อยากจะทำอะไร อ่อนเพลีย อยากนอน
  • มีผลกระทบกับการนอน บางรายง่วงนอนตลอดเวลา ในขระที่บางรายนอนไม่หลับ
  • รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า รู้สึกว่าตัวเองเป็นแม่ที่ไม่ดีตลอดเวลา ไม่มีความสามารถ
  • ไม่มีสมาธิ การจดจ่อต่อการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลดลง
  • เคลื่อนไหวช้าลง บางรายไม่สามารถนั่งเฉย ๆ ได้
  • เริ่มมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

การวินิจฉัย โรคซึมเศร้าหลังคลอด

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าหลังคลอด ต้องมีอาการแสดงออกมาอย่างน้อย 5 ใน 9 ข้อ และต้องมีข้อ 1 และข้อ 2 ร่วมด้วย ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นทั้ง 9 ข้อนี้จะต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบจะตลอดเวลา ทุกวัน ซึ่งไม่มีทางหายได้เอง ทั้งนี้ ต้องเป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ไม่ใช่ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา ในขั้นตอนของการวินิจฉัยนี้ต้องอาศัยระยะเวลา 2 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน

การดูแลและรักษา ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และโรคซึมเศร้าหลังคลอด

โดยทั่วไปแล้วภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และโรคซึมเศร้าหลังคลอด อาการมักจะหายไปได้เอง ภายใน 2 – 3 เดือน หรือนานสุดไม่เกิน 6 เดือน เนื่องจากลูกเริ่มมีการปรับตัวได้มากขึ้น คุณแม่ก็จะเหนื่อยน้อยลง ทั้งนี้ หากคุณแม่เริ่มมีอาการมากขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งการดูแลรักษาโดยมากแล้วมี 2 วิธี คือ

จิตบำบัด

เป็นการพูดคุยกับจิตแพทย์ ให้คุณแม่ได้ระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้น ซึ่งบายกรณีแพทย์จะให้คนในครอบครัวเข้ามาร่วมฟังด้วย เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันกัน คุณแม่ก็จะรู้สึกสบายใจมากขึ้น

ยาต้านเศร้า

การรักษาด้วยยาอาจทำให้ยาอาจปนเปื้อนในน้ำนมได้ แต่ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาให้ยาที่มีผลกับน้ำนมน้อยที่สุด ซึ่งก่อนที่แพทย์จะให้ยา คุณแม่และแพทย์จะต้องปรึกษากันก่อนเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)

ระดับนี้เป็นระดับที่รุนแรงสุด หรือระดับโคม่า ระดับที่เป็นอันตราย และฉุกเฉิน ต้องไปพบแพทย์ทันที แต่ระดับนี้ยังพบได้น้อยมาก ประมาณ 0.1 – 0.2% เท่านั้น

อาการ โรคจิตหลังคลอด

เป็นอาการที่เกิดกับระบบประสาท

  • มีอาการหวาดระแวง
  • ประสาทหลอน เช่น หูแว่ว
  • มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาด
  • ว้าวุ่น และดูวุ่นวาย
  • อารมณ์ก้าวร้าว รุนแรง
  • ซึมเศร้า
  • อารมณ์เสีย แบบไม่มีเหตุผล
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว
  • ความคิดหลงผิด มองลูกแล้วบอกว่าไม่ใช่ลูกตัวเอง
  • คิดที่จะทำร้ายตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้แต่ลูก
  • การดูแลรักษาโรคจิตหลังคลอด

แนะนำปรึกษาจิตแพทย์ทันที

คุณพ่อก็มีภาวะซึมเศร้าได้

ภาวะซึมเศร้าก็สามารถเกิดขึ้นกับคุณพ่อได้เช่นกันค่ะ สาเหตุมักมาจากการที่คุณพ่อพักผ่อนน้อย การสังสรรค์กับเพื่อนน้อยลง กังวลเรื่องรายได้ กังวลว่าจะเป็นคุณพ่อที่ไม่มีความสามารถ ฯลฯ คุณพ่อที่เริ่มมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด โดยที่อาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 – 3 สัปดาห์ แนะนำปรึกษาแพทย์ค่ะ

เรื่องของภาวะซึมเศร้า จะแก้ได้แต่เนิ่น ๆ ก็ด้วยการที่ทั้งคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตและถามไถ่อาการซึ่งกันและกัน ให้ความรัก ความเข้าใจกัน หากอีกฝ่ายเหน็ดเหนื่อยจากการเลี้ยงลูก ก็สลับให้อีกฝ่ายช่วยดูแลแทน

อ้างอิง

dmh.go.th

pobpad.com


Mommy Note

3,130,050 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save