เส้นเลือดขอด ขณะตั้งครรภ์ พร้อมวิธีรักษาเส้นเลือดขอดด้วยตัวเอง

เส้นเลือดขอด ขณะตั้งครรภ์ พร้อมวิธีรักษาเส้นเลือดขอดด้วยตัวเอง
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2021 10 23

คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คน อาจจะไม่ได้สังเกตตัวเองในทุก ๆ วัน ยกเว้นว่ามีอาการผิดปกติที่ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดต่อร่างกายมาก ๆ อาการของ “เส้นเลือดขอด” ก็เช่นกัน อย่างแม่โน้ตเองก็ไม่ได้สังเกตตัวเองในเรื่องนี้เหมือนค่ะ เพราะวัน ๆ มัวแต่คิดว่าจะกินอะไรดี 555 แม่โน้ตไม่มีอาการแพ้ท้องค่ะ แต่กินเก่ง กินทุก ๆ 2 ชั่วโมง มาเห็นเอาอีกทีหลังคลอดแล้ว มีอาการเส้นเลือดขอดที่ช่วงข้อเท้าแต่ไม่เยอะ ซึ่งวันนี้แม่โน้ตมีข้อมูลมาฝากกับทุกคำถามเลยค่ะ ไปติดตามกันเลย

สารบัญ

เส้นเลือดขอด ขณะตั้งครรภ์เกิดจากอะไร?

ขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ จะเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 3 – 4 เดือน ขึ้นไป มีขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากการการขยายตัวของมดลูก จึงส่งผลให้มดลูกไปกดทับเส้นเลือดดำที่โคนขา ผ่านจากอุ้งเชิงกรานมาสู่ช่องท้อง ซึ่งขาทั้งสองข้างจะได้รับเลือดจากส่วนนี้ คราวนี้เมื่อเส้นเลือดถกกดทับเข้านาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการยืนนาน นั่งนาน หรือเดินนาน ก็จะทำให้ความดันในเส้นเลือดสูงขึ้น เส้นเลือดเล็ก หรือเส้นเลือดฝอยก็จะโป่งขึ้น และเห็นเป็นเส้นที่ชัดเจนนั่นเอง

เส้นเลือดขอด ขณะตั้งครรภ์อันตรายไหม?

ไม่อันตรายค่ะ แต่อาจมีอาการหนัก ๆ หน่วง ๆ บริเวณขาหรือน่อง ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวมากกว่า ยกเว้นว่าคุณแม่บางรายที่มีอาการมาก ๆ จนทำให้เกิดอาการปวด แบบนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรซื้อยามากินเองนะคะ

หลังคลอดแล้ว เส้นเลือดขอดจะรักษาหายไหม?

โดยปกติแล้ว หลังคลอด อาการเส้นเลือดขอดหากเป็นไม่มาก จะค่อย ๆ จางลงและหายไปได้เองค่ะ แต่สำหรับคุณแม่บางรายที่มีอาการเส้นเลือดขอดมาก ๆ สีไม่ค่อยจางลง แถมมีอาการปวดร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาต่อไปค่ะ ซึ่งจะเข้ารับการรักษาได้คือ หลังคลอดแล้ว 2-3 เดือนค่ะ

การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยตัวเอง

หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเส้นเลือดขอดที่ไม่มาก และไม่มีอาการปวดร่วมด้วย สามารถดูแลตัวเองได้ดังนี้

เลี่ยงการยืนหรือนั่งนาน ๆ

แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ แนะนำว่าให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เช่น ลุกยืน ยืดเส้นยืดสายเบา ๆ เดินเล่นช้า ๆ

ไม่นั่งไขว่ห้าง

การนั่งไขว่ห้างจะยิ่งทำให้เส้นเลือดถูกกดทับมากขึ้น จะยิ่งเกิดเส้นเลือดขอดมากขึ้น

ยกเท้าให้สูงกว่าระดับหน้าอก

ให้คุณแม่ท้องหาหมอนมารองที่เท้าโดยให้เท้าสูงกว่าระดับหน้าอก ค้างไว้ประมาณ 15-20 นาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่น

เนื่องจากเสื้อผ้าที่รัดแน่นจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก และจะยิ่งเป็นการเพิ่มอาการของเส้นเลือดมากขึ้นอีก

ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง

เพราะกล้ามเนื้อขาจะมีการเกร็งตลอดเวลา และอาจส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ควรเน้นใส่ส้นเตี้ยจะเหมาะสมกว่า เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีกว่า

สวมถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอด

อาจเป็นถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดหรือผ้ายืดรัดเท้าในขณะที่ทำงานระหว่างการตั้งครรภ์ จะช่วยลดอาการได้

รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินกำหนด

เพื่อไม่ให้ร่างกายต้องรับน้ำหนักมาก และอาจมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา

ควบคุมไม่ให้ท้องผูก

ด้วยความที่มดลูกมีการขยายใหญ่ขึ้นตลอดจนกระทั่งไปกดทับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงลำไส้ ส่งผลให้ขับถ่ายยาก การดูแลไม่ให้เกิดอาการท้องผูกด้วยการกินผักและผลไม้

แช่เท้าในน้ำอุ่น

ประมาณ 10 – 20 นาที ก็จะช่วยลดอาการบวมได้ ช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ก็จะสามารถลดอาการเส้นเลือดขอดได้

การรักษาเส้นเลือดขอด โดยแพทย์

การรักษาอาการเส้นเลือดขอดโดยแพทย์ มีการรักษาอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ

เมื่อเข้ารับการฉีดไปแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาการเส้นเลือดขอด หรือเส้นเลือดที่โป่งพองนั้นค่อย ๆ ยุบตัวลง แต่วิธีนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก

แพทย์จะผ่าตัดและดึงเอาเส้นเลือดขอดออกไป แต่วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีอาการมาก ๆ ในเส้นเลือดใหญ่ และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉีด

รักษาด้วยเลเซอร์

วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะไม่มีรอยแผลและไม่มีแผลเป็น เหมาะกับอาการเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร และผู้ที่กลัวการฉีดยาหรือผ่าตัด

กินยาเพื่อลดอาการ

การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไม่มากและเริ่มเป็นในระยะแรก ยาที่กินจะเป็นในกลุ่มไดออสมิน (Diosmin) และเฮสเพอริดิน (Hesperidin) ที่ทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการอักเสบให้ลดลง

การป้องกันเส้นเลือดขอด ขณะตั้งครรภ์

อาการเส้นเลือดขอดสามารถป้องกันได้ ดังนี้

ออกกำลังกายเบา

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเดินออกกำลังกายเบา ๆ ได้ค่ะ ซึ่งการเดินเป็นการเคลื่อนไหวที่เหมาะกับคุณแม่ เพราะจะช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงขา

คุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์

เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกาย โดยเฉพาะขาต้องรับบทบาทหนักเกินไป ด้วยน้ำหนักที่มากเกินเกณฑ์

เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ

พยายามเลี่ยงการยืน หรือนั่งนาน ๆ แต่ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 2 ชั่วโมง

บริหารข้อเท้าขณะนั่ง

ให้คุณแม่เหยียดปลายเท้า และกระดกปลายเท้า ทำเช่นนี้สลับกันไปทั้งตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกา เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดให้สะดวกขึ้น

ในระยะเริ่มแรกของอาการเส้นเลือดขอดนั้น เรียกได้ว่าคุณแม่จะไม่ได้รู้สึกเจ็        บอะไรเลยค่ะ พอมาดูที่เท้าหรือขาอีกที เส้นเลือดขอดเต็มไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองด้วยนะคะ อย่ารอให้มีสัญญาณเจ็บมาเตือนร่างกายเรา เพราะนั่นอาจต้องใช้วิธีรักษาที่เข้มข้นตามระดับอาการ วันนี้คุณแม่ได้สังเกตตัวเองแล้วหรือยังคะ?

อ้างอิง bangkokhospital.com, medthai.com


Mommy Note

3,133,482 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save