น้ำเดิน หรือ น้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด อาการเป็นอย่างไร?

น้ำเดิน หรือ น้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด อาการเป็นอย่างไร-01
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2021 09 09

โดยปกติแล้วภาวะน้ำเดินจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่อยู่ในระยะใกล้คลอด แต่หากมีน้ำเดินก่อนการเจ็บท้องคลอด แบบนี้ถือว่าคุณแม่กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงค่ะ ซึ่งถือเป็นปัญหาภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดสามารถพบได้บ่อย และมักเป็นภาวะแทรกซ้อนส่งผลอันตรายต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

อาการ น้ำเดิน หรือน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด

น้ำเดิน หรือน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการด้วยกัน ทั้งนี้ คุณแม่อาจสังเกตอาการได้จาก

มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด

อาจไหลกระปิดกระปอยเป็นระยะ ๆ ไหลไม่หยุด หรือไหลทะลักออกมาเป็นจำนวนมากก็ได้เช่นกัน

มีแรงดันภายในอุ้งเชิงกราน

บางครั้งอาจมีอาการคล้ายกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

อาจมีเลือดปนออกมากับของเหลว

ซึ่งตามปกติแล้วน้ำคร่ำจะไม่มีสี และมีกลิ่นเฉพาะตัว แตกต่างจากสีและกลิ่นของปัสสาวะอย่างชัดเจน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การมีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นอาการน้ำเดิน หรือถุงน้ำคร่ำจะแตกเสมอไป ซึ่งทางที่ดีที่สุดคุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อที่จะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที เพราะทุกอาการที่เกิดขึ้นกับแม่ในระยะตั้งครรภ์ ล้วนส่งผลถึงความสมบูรณ์ของทารกแทบทั้งสิ้น!

น้ำเดินก่อนกำหนดคืออะไร?

น้ำเดิน หรือถุงน้ำคร่ำแตก ในทางการแพทย์จะเรียกว่า “ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ (หรือ PROM : Premature Rupture of Membranes)” ซึ่งปกติมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ โดยอาการน้ำเดินนี้จะบ่งบอกถึงความพร้อมของทารก ในการคลอดออกจากครรภ์มารดาแล้ว นั่นเอง โดยคุณแม่ส่วนใหญ่มักคลอดบุตรหลังน้ำเดินราว 12 ชั่วโมง

แต่หากพบว่า น้ำเดิน เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น คือ ราวสัปดาห์ที่ 24 – 34 ของการตั้งครรภ์ จะเรียกว่า “ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด (Preterm PROM)” หมายถึง การที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์ครบกำหนดคลอด ซึ่งจะส่งผลให้มีการคลอดก่อนกำหนด รวมถึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ทารกเสียชีวิตได้อีกด้วย

น้ำเดิน สาเหตุ และ ปัจจัยเสี่ยง

น้ำเดินก่อนกำหนดมักเกิดขึ้นได้ก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุที่พบส่วนใหญ่มาจากการที่คุณแม่เคยมีความผิดปกติในการคลอดครั้งก่อนหน้านี้มาแล้ว เช่น เคยมีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด เคยมีประวัติตกเลือดขณะตั้งครรภ์มาก่อน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้น้ำเดินก่อนกำหนดอีกมากมาย เช่น

  1. ปากมดลูกสั้น
  2. มีเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์
  3. มีการติดเชื้อในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ปากมดลูก ช่องคลอด และปากช่องคลอด
  4. น้ำหนักตัวคุณแม่น้อยเกินไป
  5. นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ
  6. รับประทานอาหารได้น้อย ไม่อยากอาหาร ทานข้าวไม่ได้
  7. ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน มีภาวะขาดสารอาหาร
  8. มีอาการแพ้ท้องรุนแรง
  9. การตั้งครรภ์แฝด
  10. คุณแม่มีภาวะโลหิตจาง
  11. มีเนื้องอกที่บริเวณมดลูก
  12. คุณแม่สูบบุหรี่ หรืออยู่ในครอบครัวที่มีการสูบบุหรี่
  13. การดื่มแอลกอฮอล์
  14. การใช้สารเสพติด

อย่างไรก็ตาม สาเหตุต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ จะส่งผลก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ตามมาอีกหลายประการ เช่น

  1. เกิดการติดเชื้อได้ทั้งคุณแม่ และทารกในครรภ์
  2. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
  3. อาจเกิดการอักเสบ ติดเชื้อในโพรงมดลูก
  4. ถุงน้ำคร่ำเกิดการอักเสบ และติดเชื้อ
  5. เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งจะมีลักษณะตัวบวม น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว ตาพร่ามัว ปวดหัวรุนแรง และจุกแน่นลิ้นปี่

หากคุณแม่พบว่าตนเองมีอาการดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และหาทางรักษาได้ทันท่วงที เพราะปฏิกิริยาต่างๆ เหล่านี้ จะส่งผลเสียไปถึงทารกในครรภ์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเกิดภาวะทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้ นั่นเอง

น้ำเดินก่อนกำหนด ส่งผลอะไรต่อลูกในครรภ์?

ตามปกติแล้ว หากคุณแม่มีภาวะน้ำเดิน 2 – 3 สัปดาห์ก่อนครบกำหนดคลอด หรือหลังจากสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป แพทย์จะให้แอดมิด รอดูอาการที่โรงพยาบาล เพื่อวินิจฉัยว่าคุณแม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้หรือไม่ แต่ถ้าพบว่าคุณแม่ไม่สามารถคลอดเองได้ แพทย์จะเร่งให้มีการคลอดบุตร เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

ในทางกลับกัน หากคุณแม่มีอาการน้ำเดินก่อนหน้านั้นหลายสัปดาห์ หรือช่วงสัปดาห์ที่ 24 – 34 ของการตั้งครรภ์ แพทย์จะยื้อเวลาในการคลอดต่อไปอีกสักระยะ เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการทางร่างกายที่สมบูรณ์ที่สุด โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ และยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และเร่งการทำงานของปอดทารก เพื่อให้ทารกพร้อมสำหรับการหายใจได้ด้วยตนเอง ภายหลังการคลอด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม อาการน้ำเดินก่อนกำหนด จะส่งผลกระทบโดยตรงแก่ทารกในครรภ์ เช่น

อาจเผชิญภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ภาวะรกเกาะต่ำ ทำให้ทารกขาดเลือด และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตในครรภ์ได้

ทารกอาจเกิดการติดเชื้อ

หรือเกิดโรคแทรกซ้อนขณะคลอดได้

อาจตรวจพบความพิการของทารกในครรภ์ได้

เนื่องจากเป็นไปได้ว่าทารกขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน

อาจส่งผลให้อวัยวะบางส่วนทำงานผิดปกติ

เช่น หัวใจและปอดของทารก เกิดภาวะหายใจลำบากหลังการคลอด เนื่องจากการที่ปอดของทารกพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่

น้ำเดิน VS ปัสสาวะ แยกได้อย่างไร?

น้ำเดิน หรือบางครั้งเรียกว่า ถุงน้ำคร่ำแตก จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างไปจากปัสสาวะเล็ดอย่างชัดเจน โดยคุณแม่จะสังเกตได้จากลักษณะของสี และกลิ่นของของเหลวที่ไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งถ้าเป็นปัสสาวะจะมีสี และกลิ่นของปัสสาวะ แต่หากเป็นน้ำเดินจะมีลักษณะใส มีกลิ่นเฉพาะตัว และบางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาด้วย อีกทั้งการไหลของของเหลวจะไหลออกมาเรื่อย ๆ คุณแม่จะไม่สามารถควบคุม หรือกลั้นให้หยุดไหลได้เหมือนการกลั้นปัสสาวะ

น้ำเดิน หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ 24 – 34 ของระยะการตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลทำให้มีการคลอดก่อนกำหนด และถือเป็นช่วงที่มีอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่ และทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากคุณแม่ท่านใดมีอาการน้ำเดินก่อนกำหนด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัย และการตรวจรักษาที่ทันท่วงที เพราะทุกๆ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อทารกในครรภ์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการดูแลสุขภาพของคุณแม่ในระยะการตั้งครรภ์ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง

pobpad.com

samitivejhospitals.com

siamhealth.net


waayu

329,411 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save