• HOME
  • BLOG
  • โรค
  • โรคลมชักในเด็ก ทำความรู้จัก เพื่อเตรียมรับมือ

โรคลมชักในเด็ก ทำความรู้จัก เพื่อเตรียมรับมือ

โรคลมชักในเด็ก ทำความรู้จัก เพื่อเตรียมรับมือ
โรค

โรคลมชักในเด็ก เป็นโรคเกี่ยวเนื่องกับการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาท และสมอง นับเป็นอันตรายใกล้ตัวลูกน้อย ที่พ่อแม่ควรต้องทำความเข้าใจ ระมัดระวัง เตรียมการรับมืออย่างถูกต้อง และทันท่วงที เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย นั่นเอง

สาเหตุของโรคลมชักในเด็ก

โรคลมชัก (Epilepsy) ที่เกิดขึ้นในเด็ก มีหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ความผิดปกติของพันธุกรรม ที่ส่งผลต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง (genetic disease)
  • มีความผิดปกติของการสร้างเซลล์สมองของทารกในครรภ์ (congenital anomaly)
  • ความผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อนก่อนคลอด ขณะคลอด และหลังคลอด เช่น มีการติดเชื้อในครรภ์ ทารกขาดออกซิเจนระหว่างตลอด เป็นต้น
  • ได้รับอุบัติเหตุ ที่มีผลกระทบต่อสมอง เช่น ล้มหัวกระแทกพื้นอย่างรุนแรง
  • มีก้อนเนื้องอกในสมอง หรือมีเซลล์ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วผิดปกติในสมอง
  • สมองขาดออกซิเจน เช่น เคยตกน้ำ หรือจมน้ำ เป็นเวลานานหลายนาที
  • มีไข้สูง เกิน 37 องศาเซลเซียส
  • ติดเชื้อในสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อด้วยเช่นกัน
  • มีภาวะเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ
  • เกิดจากภูมิต้านทานของตัวเอง (autoimmune disese) เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิต้านทานทำร้ายตัวเอง เป็นต้น

อาการของโรคลมชักในเด็ก

อาการของโรคลมชักในเด็ก อาจจำแนกตามลักษณะการชักได้ดังนี้ 2 ลักษณะ คือ

อาการชักแบบเฉพาะที่

ขึ้นอยู่กับจุดกำเนิดของอาการ ว่าอยู่ตรงส่วนใดของสมอง เช่น ถ้าความผิดปกติอยู่ในส่วนที่สมองควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ อาการชักที่ปรากฎอาจมีการเกร็ง ชักกระตุก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

แต่ถ้าหากจุดกำเนิดของอาการชักเกิดขึ้นที่สมองในส่วนที่ควบคุมความรู้สึก อาจมีความรู้สึกเจ็บปวดเกิดขึ้นด้วย รวมถึงอาจมีอาการชา หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรมาไต่ตามร่างกาย เป็นต้น  แต่ถ้าเกิดในส่วนของสมองที่ควบคุมการมองเห็น ก็จะมีการมองเห็นที่ผิดไปจากปกติ เช่น อาจมองไม่เห็น ตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงบางอย่าง ก็ได้เช่นกัน

อาการชักแบบทั้งตัว

จะมีอาการเกร็ง กระตุก แบบที่เป็นไปทั้งตัว หรือที่เรียกว่า อาการชักแบบลมบ้าหมู หรืออีกกรณีเป็นอาการชักแบบเหม่อ หรือที่เรียกว่า ชักแบบไม่รู้สึกตัว นั่นเอง

อาการชักที่เห็นได้เด่นชัด

ทั้งนี้ อาการของโรคลมชักในเด็ก อาจปรากฎให้เห็นได้เด่นชัด ดังต่อไปนี้

มีอาการชักกระตุกตามแขนขา

มีจังหวะการชักเป็นชุดๆ มักพบมากในเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือน – 1 ปี

มีอาการชักแบบนั่งนิ่ง

เหม่อ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกชื่อ พบมากในเด็กช่วงวัย 5 – 10 ปี

มีอาการชักแบบไม่รู้ตัว

มักมีอาการเตือนให้พ่อแม่สังเกตได้ แต่ระหว่างชักเด็กจะจำอะไรไม่ได้เลย

มีอาการชักต่อเนื่องและยาวนาน

ซึ่งจะเป็นอันตรายได้ หากเด็กมีอาการชักติดต่อกันเกิน 30 นาที

อย่างไรก็ตาม ในการวินิจฉัยโรคลมชักในเด็ก แพทย์อาจใช้วิธีการซักประวัติ ประกอบการตรวจวัดการทำงานของสมองด้วย การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ EEG (Electroencephalograhpy) นั่นเอง

การรักษาโรคลมชักเบื้องต้น

สำหรับขั้นตอนของการรักษาอาการโรคลมชักในเด็ก แพทย์จะใช้วิธีการให้ยากันชัก รับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น และสำหรับในกรณีที่เด็กบางรายรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป

กินอาหารคีโต สามารถช่วยรักษาโรคลมชักในเด็กได้จริงหรือ?

ปัจจุบันมีการพูดถึงการรับประทานอาหารคีโต หรือ คีโตเจนิค (Ketogenic Diet : KD) เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือลดความอ้วน

แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ในทางการแพทย์ ได้มีการนำอาหารคีโตมาใช้รักษาโรคลมชักในเด็กได้ (ทั้งนี้ ครอบคลุมถึงเรื่องของการบรรเทาอาการได้อีกด้วย) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 และได้ถูกบรรจุอยู่ในกระบวนการรักษา ทั้งในไทยและต่างประเทศมายาวนานนับตั้งแต่นั้น โดยเฉพาะการรักษาโรคลมชักในเด็ก กลุ่มที่มีอาการดื้อต่อยากันชัก ซึ่งพบว่าสามารถช่วยลดการเกิดอาการชักได้ถึงร้อยละ 50 อีกทั้งยังพบว่า ผู้ป่วย 10 – 20% ไม่มีอาการชักเกิดขึ้นอีกเลย

ทว่า อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการกินอาหารคีโต เพื่อบำบัดอาการป่วยจากโรคลมชักในเด็ก ย่อมขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของเด็ก หรือภาวะเผาผลาญไขมันในร่างกายของเด็กด้วยเป็นสำคัญ อีกทั้งผู้ที่จะรักษาด้วยการกินอาหารคีโต ต้องมีวินัยในการกิน เนื่องจากจำเป็นต้องรักษาระดับคีโตนในร่างกายให้คงที่ตลอดเวลา นั่นเอง

วิธีรับมือ เมื่อลูกเป็นลมชัก

  • คุณพ่อคุณแม่ควรมีสติ ไม่ตื่นตระหนก เตรียมพร้อมสำหรับการรับมือเมื่อลูกมีอาการชัก หรือสังเกตได้จากอาการเตือน ว่าลูกกำลังจะมีอาการชักเกิดขึ้น
  • จับให้ลูกนอนลงในที่โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง และคอยสังเกตอาการชักให้ชัดเจน (ถ้าบันทึกภาพได้จะดีมาก เพื่อที่ว่าเมื่อพาลูกมาพบแพทย์ จะได้วินิจฉัยอาการชักได้อย่างถูกต้อง)
  • จับให้ลูกนอนตะแคง สังเกตว่ามีอะไรอยู่ในปากลูกหรือไม่ ถ้ามีให้เอาออก
  • หาหมอนมารองศีรษะลูกไว้ พยายามปลด หรือคลายเสื้อผ้า ไม่ให้ลูกอึดอัด จะทำให้หายใจไม่ออกได้
  • ห้ามหาอะไรมางัด หรือง้างปากลูกเป็นอันขาด เพราะอาจจะทำให้เกอดอาการบาดเจ็บในช่องปากได้ ให้เช็ดเศษอาหารหรือน้ำลายจากปากลูก โดยไม่ต้องใช้อะไรมางัดหรือง้างปากลูกออก
  • ห้ามคนมุงดู จะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และเป็นอันตรายกับเด็กได้
  • โดยปกติอาการชักจะเกิดขึ้นราว 2 – 3 นาที ให้รอจนลูกหยุดชัก แล้วตรวจสอบดูว่ามีแผลเกิดขึ้นตามร่างกายหรือไม่ ถ้ามีให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากนั้นให้รีบพาลูกมาพบแพทย์

สรุป

โรคลมชัดในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อย และสร้างความวิตกกังวลให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้น พ่อแม่ก็ไม่ควรตื่นตระหนก แต่ควรตั้งรับด้วยความรู้ ความเข้าใจ และการมีสติ ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยผ่านช่วงเวลาแห่งความเจ็บป่วยนี้ไปได้อย่างปลอดภัย และหายขาดจากโรคนี้ได้ในที่สุด หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที


waayu

329,408 views

(นามปากกา : วายุ, วิสัชนา, อารีรัตน์) ชอบปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และวาดรูป เคยเป็นครูอนุบาล ครูประถม ครูมัธยมต้น ครูสอนจินตคณิต(สมาร์ทเบรน) มีงานเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ค และ E-book ที่ mebmarket.com Facebook

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save