อาการคนท้อง 9 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่ตั้งครรภ์
อาการคนท้อง 9 เดือน และและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่ตั้งครรภ์
-
- เดือนนี้แพทย์จะนัดคุณแม่ทุกสัปดาห์ค่ะ เพื่อตรวจสุขภาพคุณแม่ อาการก่อนคลอด สุขภาพลูก รวมถึงความผิดปกติอื่น ๆ
- ระยะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 37 ทารกในครรภ์จะเริ่มมีการกลับหัว และเคลื่อนศีรษะมาตรงอุ้งเชิงกราน คุณแม่จะรู้สึกโล่ง ๆ ที่ชายโครงแต่ก็จะรู้สึกหน่วง ๆ ที่อุ้งเชิงกรานแทน
- เข้าสัปดาห์ที่ 38 ช่วงนี้คุณแม่จะมีอาการเจ็บเตือนก่อนก่อนเจ็บคลอดจริง ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เกิดอาการเจ็บท้องหรือท้องแข็งเป็นชุดใหญ่ ๆ มากกว่า 4 – 5 ครั้ง ให้คุณแม่ปรึกษาแพทย์ทันที
- เข้าสู่สัปดาห์ที่ 39 ปากมดลูกเริ่มมีการเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดแล้ว คุณแม่จะรู้สึกหนัก ๆ หน่วง ๆ บริเวณกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากกดทับของทารก ในขณะที่มดลูกก็ยังมีการหดตัวและรัดตัวที่แรงขึ้น อาจรู้สึกเจ็บขณะที่คุณแม่จะลุกและจะนั่ง ระยะนี้ควรสังเกตตัวเองด้วยนะคะว่ามีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดหรือไม่ เพราะอาจเป็นอาการที่น้ำคร่ำแตก ต้องพบแพทย์ด่วน
- อายุครรภ์โดยทั่วจะอยู่ที่ 9 เดือน หรือสมบูรณ์เต็มที่ก็จะอยู่ที่ 37 หรือ 41 สัปดาห์ แต่ถ้าหากคุณแม่มีอายุครรภ์ที่ 42 สัปดาห์ขึ้นไปถือว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีนะคะ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะรกเสื่อม น้ำคร่ำลดลง และเมื่อมดลูกหดตัวจะส่งผลให้ทารกขาดออกซิเจน อันตรายเสี่ยงเสียชีวิตได้
อาหารบำรุงครรภ์ 9 เดือน
เกลือแร่และเอนไซม์ต่างๆ
พบมากในเต้าหู้ ไข่ เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ บล็อกโคลี่ และผักขม อาหารกลุ่มนี้จะช่วยในการเพิ่มออกซิเจนในร่างกายให้เซลล์ในส่วนของกล้ามเนื้อสามารถทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพค่ะ
อาหารที่ให้พลังงานสูง
ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินบี 1 และวิตามินซี อาหารกลุ่มนี้สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่คลอดแบบธรรมชาติ เพราะอาหารที่ให้พลังงานสูงจะทำให้คุณแม่ไม่อ่อนเพลียมากเกินไปหลังคลอด
สังกะสี
สารอาหารกลุ่มนี้จะช่วยให้มดลูกมีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลเวียนดี สารอาหารกลุ่มนี้พบมากในเนื้อวัว เนื้อหมู สัตว์ปีก ตับ หอยนางรม อาหารทะเล เมล็ดฟักทอง นมสด และไข่
วิตามินซี
มีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อและกระดูกของทารก รวมถึงยังช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อของคุณแม่หลังการคลอด ป้องกันปัญหาเลือดออกตามไรฟัน บรรเทาอาการหวัดได้ดี
วิตามินเค
พบมากในผักกาดหอม ถั่ว อะโวคาโว ดอกกะหล่ำ บล็อกโคลี่ และผักโขม สารอาหารนี้มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับแม่ตั้งครรภ์ใกล้คลอด เพราะวิตามินเคจะช่วยให้เลือดแข็งตัวเร็ว ช่วยป้องกันอาการเลือดออกมาผิดปกติ (หรือตกเลือด) นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณแม่หลังคลอดฟื้นตัวได้เร็วอีกด้วย
พัฒนาการทารกในครรภ์ 9 เดือน
Credit: emmasdiary.co.uk
-
-
- ทารกมีความยาววัดจากศีรษะจรดเท้าประมาณ 50 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 2,800 – 3,000 กรัม
- ทารกกลับศีรษะมาที่อุ้งเชิงกราน เพื่อเตรียมคลอด
- ปอดของทารกทำงานได้อย่างเต็มที่มากขึ้น เตรียมพร้อมที่จะหายใจครั้งแรกหลังคลอด
- ผิวหนังสมบูรณ์แต่ยังคงเหี่ยวอยู่เนื่องจากชั้นไขมันใต้ผิวหนังยังน้อย
- ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างปกติ และยังคงพัฒนาต่อไปเมื่อหลังคลอด ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นการสร้างความแข็งแรงและสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้อย่างดีเยี่ยม
- สมองเริ่มทำงานได้ดี โดยมีการควบคุมการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทั้งหมด อาทิ การหายใจ การเต้นของหัวใจ รวมถึงการตอบสนองในด้านต่าง ๆ
- ลูกน้อยมีปฏิกิริยาตอบสนองได้ดี เช่น หลังคลอดจะมีการคว้าจับ การดูด ซึ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกสามารถจับมือคุณแม่และสามารถดูดนมคุณแม่ได้เมื่อหลังคลอด
-
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- อาการคนท้อง 1 เดือน พร้อมวิธีแก้อาการแพ้ท้อง
- อาการคนท้อง 2 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 3 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 4 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 5 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 6 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 7 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
- อาการคนท้อง 8 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์