อาการคนท้อง 2 เดือน อาหารบำรุงครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์

อาการคนท้อง 2 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์

Last Updated on 2021 11 25

ต้องบอกว่าในช่วงไตรมาสแรกจะเป็นช่วงที่เกิดอาการแพ้ท้องเยอะที่สุดค่ะ โดย “อาการคนท้อง 2 เดือน” สำหรับคุณแม่บางคนถือได้ว่าเป็นช่วงพีคเลยทีเดียว ซึ่งร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และพัฒนาการของทารกในครรภ์นั้นมีอะไรบ้าง รวมถึงสารอาหารที่ร่างกายคุณแม่ต้องการนั้นคืออะไร ไปติดตามกันค่ะ

อาการคนท้อง 2 เดือน

แพ้ท้อง

สำหรับช่วงท้อง 2 เดือนนี้ คุณแม่จะยังคงมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียนอยู่ โดยเฉพาะในช่วงเช้า (Morning Sickness) มีอาการแสบบริเวณลิ้นปี่จากการอาเจียน เนื่องจากน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ดังนั้นหลังจากที่คุณแม่อาเจียนแล้ว ควรดื่มน้ำเปล่าสะอาด ๆ มาก ๆ และนำมากลั้วปากทุกครั้งด้วยนะคะ อีกหนึ่งวิธีคุณแม่สามารถฝานขิงบาง ๆ แช่ในน้ำร้อน แล้วจิบบ่อย ๆ แบบนี้ก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ค่ะ

เบื่ออาหาร

จริง ๆ แม่โน้ตอยากใช้คำว่า “เบื่ออาเจียน” มากกว่า เพราะว่าทานอะไรเข้าไปก็อาเจียนออกมาหมด ทำให้คุณแม่เบื่ออาหารไม่อยากกินอะไร แต่จะไม่กินเลยก็ไม่ได้นะคะ เพราะเราต้องดูแลอีกหนึ่งชีวิตน้อย ๆ ในท้อง ที่สำคัญคุณแม่ก็จะไม่มีเรี่ยวแรงและจะเพลียได้ คุณแม่ควรเปลี่ยนมากินอาหารที่ย่อยง่าย ไม่คาว เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม น้ำซุป หรือน้ำเต้าหู้ก็ได้ค่ะ และไม่ควรกินอาหารที่ซ้ำกันบ่อย ๆ พร้อมกับลดปริมาณอาหารให้น้อยลงในแต่ละมื้อ และเพิ่มจำนวนมื้อแทนค่ะ หรือไม่ถ้ายังอาเจียนอยู่ให้กินบิสกิตกับน้ำเปล่า หรือน้ำขิงอุ่น ๆ แบบนี้ก็จะช่วยได้ค่ะ (น้ำขิงความเป็นน้ำขิงไม่ผสมน้ำตาลนะคะ)

อารมณ์แปรปรวน

ช่วงนี้คุณแม่จะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย 5 นาทีที่แล้วเพิ่งยิ้ม เพิ่งหัวเราะมา แป๊บ ๆ โมโหซะแล้ว จะขึ้น ๆ ลง ๆ แบบนี้ค่อนข้างบ่อยค่ะ เรียกได้ว่าขี้หงุดหงิดจนผิดสังเกตเลยทีเดียว เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายนั่นเองค่ะ

อ่อนเพลียง่าย

ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียมากขึ้น เหตุจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้น เหนื่อยซะจนบางครั้งรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรก็เชื่องช้าไปเสียหมดไม่ทันใจเลยทีเดียว แต่เคลื่อนไหวช้าแบบนี้ก็ดีนะคะ ปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และลูกในท้อง

อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ

เข้าเดือนที่ 2 นี้ อารมณ์คุณแม่จะขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างเห็นได้ชัดมากกว่าเดือนแรกอีกค่ะ บางรายอารมณ์ขึ้นง่าย แต่ลงยาก ช่วงนี้คุณพ่อต้องเข้าใจคุณแม่หน่อยนะคะ หลังจาก 3 เดือนไปแล้วก็จะดีขึ้นและหายได้เองค่ะ

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 2

อาการท้อง 2 เดืิอนกับร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลง ช่วงนี้จะเริ่มเห็นได้ชัดขึ้นค่ะ ดังนี้

เต้านมและหัวนมขยายใหญ่ขึ้น

ในช่วงตั้งครรภ์นั้นระดับของฮอร์โมนเอสโทรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นผลทำให้ขนาดของเต้านมขยายขึ้น และต่อมผลิตน้ำนมก็มีขยายเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน รวมถึงลานนมและหัวนมก็ขยายและจะมีสีคล้ำขึ้น คุณแม่ก็จะรู้สึกเจ็บที่เต้านมมากขึ้น เพราะเต้านมต้องเตรียมผลิตน้ำนมไว้ให้ลูกน้อย อาการนี้ที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่า “เต้านมคัด” นั่นเอง

ช่วงหน้าท้องเริ่มหนาขึ้น

เนื่องจากมดลูกมีการขยายตัว จึงทำให้หน้าท้องเริ่มดูที่จะพองขึ้น ให้คุณแม่เตรียมชุดที่สวมใส่ได้สบายมาใส่แทนกางเกงที่รัดนะคะ จะได้รู้สึกไม่อึดอัดที่หน้าท้องค่ะ แต่หากคุณแม่คนไหนเบื่อการใส่ชุดคลุมท้อง ปัจจุบันนี้ก็มีกางเกงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ออกวางจำหน่ายเยอะทีเดียว มีทั้งขายาว ขาสามส่วน และขาสั้น ลองไปซื้อหากันดูนะคะ

โดยทั่วไปแล้วหน้าท้องของคุณแม่จะเริ่มมีการขยายตัวจนส่งผลให้หน้าท้องคุณแม่แตกลาย และคันนั้นก็จะเป็นช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไป แต่ส่วนตัวแม่โน้ตนะคะ แม่โน้ตเริ่มทาครีมลดรอยแตกลายตั้งแต่รู้ว่าท้องได้ 2 เดือนนี้แหละค่ะ เพราะมันจะได้ผลลัพท์ที่ดีสุดทีเดียว ทุกวันนี้ไม่มีรอยแตกเลย (แต่ข้อนี้ก็ต้องแล้วแต่ผิวหนังของคุณแม่แต่ละคนด้วยนะคะ) ทาทุกวันทั้งเช้า และก่อนนอน

มีอาการหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย

เพราะมดลูกมีการขยายตัวมากขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้น อาจทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย อาจมีการเจ็บหรือเสียวแปลบที่มดลูกได้ง่าย เพราะมดลูกเริ่มโตขึ้น ปีกมดลูกก็จะถูกรั้งตึงนั่นเอง

อาหารบำรุงครรภ์ 2 เดือน

เรื่องสำคัญของคุณแม่ท้องที่ต้องดูแลกันมากเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ก็คือเรื่องของอาหารการกินค่ะ เพราะลูกน้อยจะแข็งแรงหรือไม่ก็อยู่ที่สารอาหารสำคัญที่คุณแม่ต้องรับให้ครบ

  • ควรเน้นการทานผักและผลไม้ เพื่อให้ได้วิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารอื่น ๆ ที่หลากหลาย
  • เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน
  • ไข่และปลา ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญในการช่วยสร้างกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของทารกในครรภ์
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานมาก ๆ แอลกอฮอล์ และอาหารดิบทุกชนิด

แร่ธาตุสำคัญสำหรับแม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน

โฟเลต

คุณแม่ควรได้รับอย่างน้อย 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลกรัม) ต่อวัน และรับอย่างต่อเนื่องไปตลอดในช่วงตั้งครรภ์ เพราะโฟเลตนอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติในทารกแล้ว (เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่) ยังช่วยในเรื่องการเสริมสร้างพัฒนาการด้านระบบประสาทในทารก ให้ทำงานได้อย่างปกติ

ธาตุเหล็ก

จำเป็นในเรื่องของการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้การตั้งครรภ์นั้นเป็นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณการทานนะคะ แต่โดยปกติแล้ว ถ้าคุณแม่มีการฝากครรภ์ตั้งแต่แรก แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาจ่ายยาให้ตามความเหมาะสมอยู่แล้วค่ะ

นอกจากนี้แหล่งของธาตุเหล็กนั้นสามารถพบได้จาก เนื้อหมู เนื้อวัว ถั่ว ไข่ อัลมอนด์ และเม็ดมะม่วงหิมพานต์นะคะ

พัฒนาการของทารกในครรภ์ 2 เดือน

  • สำหรับพัฒนาการของทารกในครรภ์ 2 เดือนนี้ ทารกจะมีขนาดราว ๆ 2 นิ้ว (หรือราว 5 ซม.) หรือประมาณนิ้วก้อยของคุณแม่ค่ะ แต่สิ่งมหัศจรรย์คือ แม้ตัวทารกจะมีขนาดเล็กแต่เขาก็มีมือ เท้า แขน และขาแล้วนะคะ โดยในช่วงประมาณ 9 สัปดาห์ ทารกในครรภ์ก็จะเริ่มขยับตัวได้แล้ว สามารถยกมือยกไม้ได้ค่ะ
  • ผิวหนังเริ่มแบ่งเป็น 2 ชั้น ได้แก่ ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน มีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ รวมทั้งเริ่มมีขนอ่อนงอกออกมาจากรูขุมขน
  • โครงสร้างของร่างกายหลัก ๆ และอวัยวะภายในเริ่มครบสมบูรณ์หมดแล้ว
  • อัตราการเต้นของหัวใจจะเต้นเร็วกว่าคุณแม่ประมาณเท่าตัว คือ อยู่ที่ 140 – 150 ครั้งต่อนาที

Mommy Note

3,128,122 views

คุณแม่ลูกหนึ่ง ที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ "Tradigital" แบบดั้งเดิมผสมผสานกับความดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เน้นเลี้ยงลูกให้เป็นคนธรรมดาที่มีสุข ติดต่องานได้ที่ e-mail : simplymommynote@gmail.com

Profile

Pickup posts

Related posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save